Skip to content

หลวงปู่สิงห์ วัดป่าหนองคูโบสถ์

หลวงปู่สิงห์ วัดโบสถ์

โดย

สุวัฒน์ เหมอังกูร

พระครูวิเชียรธรรมคุณ(วิเชียร ธมฺมสาโร)

หลวงปู่สิงห์

วัดโบสถ์ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

สังคมของเราในทุกวันนี้เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย ความเจริญที่พัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ นั้น มาพร้อมกับความเสื่อมของจิตใจ ทำให้คนต่างพากันพูดว่าศีลธรรมเสื่อม ที่จริงแล้วเรื่องนี้ไม่ใช้ความเสื่อมของศีลธรรม แต่สาเหตุนั้นมาจากกิเลสตัวเดียวเท่านั้น

ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ยิ่งทำให้กิเลสนั้นแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงในวงการของศาสนา การประพฤติปฎิบัติของพระสงฆ์จำนวนไม่น้อยไม่เหมาะสมกับสมณาสารูป ทำให้พุทธศาสนิกชนต่างพากันเสื่อมศรัทธาไม่อยากทำบุญเหมือนแต่ก่อน

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร พระอรหันต์และพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็ยังมีให้เรากราบไหว้บูชาอยู่เสมอ ผู้เขียนจึงอยากแนะนำให้ท่านผู้อ่านได้พบกับ พระสุปฏิปันโนที่เป็นพระสงฆ์แท้ตามคำบอกกล่าวของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล พระอรหันต์แห่งภาคอีสานใต้ ท่านคือพระครูวิเชียรธรรมคุณ หรือหลวงปู่สิงห์ พระผู้มีวัตรปฏิบัติและมีอภินิหารในบารมีธรรมของท่าน ที่เราสามารถกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ

ประวัติตอนเป็นฆราวาส

ท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน พ.ศ.2472 ตรงกับวันที่ 13 เมษายน 2472 เป็นบุตรของนายคำ บุญภา และนางปุย บุญภา มีพี่น้อง 6 คน คือ 

1. นายเกิด บุญภา

2. นายแก้ว บุญภา

3. หลวงปู่สิงห์

4. นางอาด ทองดาษ

5. หลวงพ่อทัด ธมฺมสโร

6. นางวาด บุญภา ถึงแก่กรรมแล้ว

ขณะคลอดออกมา ตัวของท่านจะมีหนังบาง ๆ ห่อหุ้มตัวออกมาด้วย พ่อของท่านจึงนำหนังนั้นไปตากแดด และย่างเก็บไว้จนท่านถึงเวลาทานข้าวได้ จึงนำหนังนั้นให้ท่านกิน เนื่องจากวันเดือนปี ที่ท่านคลอดออกมา หมอดูทำนายว่าท่านเป็นเด็กไม่ดี ไม่เป็นมงคลจะต้องนำไปถวายพระ มิฉะนั้นจะทำให้พ่อแม่เดือดร้อน พออายุ 5 ขวบ พ่อของท่านจึงนำไปขายให้หลวงพ่อจูม แห่งวัดบ้านดงถาวร ผู้เขียนคิดว่าเรื่องการซื้อการขายลูกคงเป็นไปเพื่อการแก้เคล็ดเท่านั้น

หลังจากนั้น เด็กชายสิงห์ ก็ไป ๆ มา ๆ ระหว่างบ้านกับวัด เมื่ออยู่วัดก็ได้เรียนหนังสือกับพระ พออายุขวบเริ่มเรียนวิชากับปู่แป้น ซึ่งเป็นปู่แท้ ๆ ของท่าน โดยเรียนอักขระ มูลกัจจายนะ และวิชาอาคมที่ใช้ในการดำรงชีพของส่วย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวกุย

สำหรับหลวงพ่อจูมนั้น ท่านเป็นเกจิอาจารย์จอมขมังเวทย์ เก่งในเรื่องสักยันต์ ส่วนปู่แป้นเป็นฆราวาสจอมขมังเวทย์ เป็นครูธรรมที่ชาวบ้านเคารพนับถือและยกย่องในวิชาอาคม เมื่อเด็กชายสิงห์อายุ 11 ขวบ พ่อก็เสียชีวิต ต่อม่อีก 1 ปี ปู่แป้นก็เสียชีวิต จึงได้ศึกษาวิชาอาคมต่อกับหลวงพ่อจูมจวบจนอายุ20 ปี ได้ลาหลวงพ่อจูมไปทำงานที่บางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ประมาณ ปีจึงกลับ พออายุได้ 23 ปีเต็ม หลวงพ่อจูมเห็นว่า นายสิงห์ โตเป็นหนุ่มถึงเวลาที่จะมีครอบครัวได้แล้ว จึงจัดการแต่งงานให้ 

เมื่อแต่งงานได้ 2 ปี ก็เกิดเหตุที่ท่านถูกกล่าวหาว่าขโมยควาย ท่านจึงต้องหนี หลวงพ่อจูมมอบเงินให้ท่านเดินทางออกจากหมู่บ้านไป ท่านจึงเดินทางกลับไปบางบ่ออีกครั้งหนึ่ง โดยไปทำงานกับคุณนายกิมหงส์ ซึ่งเป็นโยมอุปฐากของหลวงพ่อลี ธมฺมธโร เป็นผู้ถวายที่จำนวน 400 ไร่ ให้หลวงพ่อลีสร้างวัดอโศการาม คุณนายกิมหงส์จึงพาท่านไปช่วยงานอยู่กับหลวงพ่อลี ระหว่างที่อยู่กับหลวงพ่อลี ท่านได้รับการสอนเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และหลวงพ่อลีทราบโดยฌาณของท่านถึงบุญบารมีที่สะสมมาแต่อดีตชาติและเห็นอนาคตของนายสิงห์ จึงขอให้ท่านบวชโดยบอกกับท่านว่า ถ้าบวชก่อน พ.ศ.2500 ท่านจะสำเร็จอรหันต์อย่างรวดเร็ว และแน่นอน แต่ถ้าท่านบวชหลัง พ.ศ.2500 ท่านจะริบหรี่ ๆ เหมือนแสงหิ่งห้อย นั่นคือจะใช้เวลานานกว่าจะสำเร็จ แต่ว่าท่านจะมีฤทธิ์มาก

ระหว่างที่ลังเลอยู่นั้น หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย ได้เดินทางมาจากวัดป่าคลองกุ้งเพื่อมาถามหลวงพ่อลีว่า จะสร้างวัดที่ไหนดี มีคนเขาบริจาคที่ให้ 2 ที่ หลวงพ่อลีจึงบอกให้สร้างที่เขาหัวอีกิม ( ภายหลังหลวงพ่อสมชายเปลี่ยนชื่อเป็นเขาสุกิม ) เมื่อหลวงพ่อสมชายเดินทางกลับได้ชวนนายสิงห์ไปวัดป่าคลองกุ้งกับท่านด้วย ท่านจึงตามหลวงพ่อสมชายไปรวมเวลาที่อยู่กับหลวงพ่อลี 2 ปี  เมื่อไปอยู่กับหลวงพ่อสมชายได้ 2 เดือน มีคนจากภาคใต้มาหาแรงงานเพื่อไปทำงานเหมืองแร่ที่จังหวัดพังงา ท่านเล็งเห็นว่าชีวิตยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันควรจะทำงานทำการจึงสมัครไปทำงานเหมืองแร่ที่จังหวัดพังงา มาอยู่พังงาได้ 4 ปี ท่านจึงมีภรรยาอีกคนหนึ่งเป็นแม่หม้ายลูกติด แต่ท่านไม่ได้มีลูกกับภรรยาคนนี้ อยู่กินกันมาจนถึง พ.ศ.2512 ก็เกิดมีเหตุการณ์ที่เป็นมูลเหตุสำคัญทำให้ชีวิตของท่านต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

เข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์

ในปี พ.ศ. 2512 ท่านมีอายุ 40 ปีเต็ม วันหนึ่งท่านออกไปหากบเพื่อมาทำอาหาร ท่านจับกบมาได้ 1 ตัว เป็นกบตัวใหญ่มาก เมื่อกลับมาถึงบ้านท่านจะผ่าท้องเพื่อทำอาหาร ปรากฎว่า กบร้องออกมาว่า ” พุทโธ ” ท่านได้ยินถึงกับสะดุ้ง และหวนคิดไปถึงคำสอนของหลวงพ่อลี ที่สอนให้ท่านฝึกฝนสมาธิโดยยึดคำว่า พุทโธ 

ด้วยคำว่า พุทโธ ที่ท่านได้ยินจากกบตัวนั้น เป็นเสียงที่จุดประกายขึ้นในใจ และทำให้ท่านตกอยู่ในภวังค์แห่งสัจธรรมของชีวิต ท่านทบทวนเรื่องนี้โดยไม่ได้หลับไม่ได้นอนอยู่เป็นเวลา 3 วัน จนความคิดของท่านตกผลึกและตัดสินใจที่จะบวช จึงได้ปรึกษาภรรยาของท่านว่าจะบวชและอยากกลับไปบวชที่บ้านเกิด ภรรยาของท่านตามใจพร้อมทั้งจัดหาผ้าไตรจีวรและมอบเงินให้ท่านกลับไปยังจังหวัดสุรินทร์

ท่านเข้าอุปสมบทที่วัดบ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ โดยมีหลวงพ่อลาเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจูมเป็นพระกรรมวาจาจารย์ สังกัดมหานิกาย เพราะกบตัวนั้นนั่นเอง เป็นชนวนก่อให้เกิดพระอริยสงฆ์ให้เราได้กราบไหว้บูชาชื่นชมบารมีขึ้นมาอีกหนึ่งองค์ โดยความเห็นของผู้เขียนคิดว่า กบตัวนั้นไม่ใช่กบธรรมดาทั่วไปที่เกิดตามธรรมชาติ คงจะเป็นเทพเทวดาที่จำแลงแปลงกายลงมาเตือนสติหลวงปู่อย่างแน่นอน

เมื่ออุปสมบทเรียบร้อยแล้ว ท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดบ้านดงถาวร วัดที่ท่านเคยอยู่อาศัยมาตั้งแต่เด็ก ๆ เมื่อท่านจำพรรษาได้ 1 ปี จึงออกเดินธุดงค์ไปทางใต้เพื่อไปศึกษาเรื่องวิชาสมุนไพรโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำมารักษาน้องชายของท่าน ระหว่างทางเมื่อไปถึงตำบลละอุ่นใต้ จังหวัดระนอง ได้พบกับพระอาจารย์จำเนียร จึงพากันธุดงค์ต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงจังหวัดพังงา ได้พบกับหลวงพ่อเฟื่องวัดบางเหรียญที่อำเภอทับปุด ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในวิชาสมุนไพร ท่านจึงสมัครเป็นศิษย์ขอศึกษาด้วย

หลังจากอยู่กับหลวงพ่อเฟื่อง 1 พรรษา ท่านจึงธุดงค์ขึ้นไปปฏิบัติธรรมบนเขาทับปุด พอดีช่วงนั้นหลวงปู่ชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานีได้รับนิมนต์ไปที่จังหวัดพังงา วันหนึ่งหลังจากที่ท่านออกจากสมาธิจึงเห็นหลวงปู่ชามายืนอยู่ตรงหน้าท่าน หลวงปู่ชาบอกว่าระหว่างที่ผมนั่งภาวนาอยู่ ได้เห็นแสงสว่างของจิตส่องมาถึงผม ผมจึงมาตามหาท่าน หลวงปู่ชาสอบถามหลวงปู่สิงห์ จนทราบว่าท่านเป็นคนจังหวัดสุรินทร์ หลวงปู่ชาจึงพูดว่า ท่านมาอยู่นี่ทำไมกลับไปเป็นอรหันต์ที่อีสานใต้บ้านเราเถิด ที่ภาคอีสานนั้นมีอรหันต์เยอะแยะ หลวงปู่สิงห์จึงติดตามหลวงปู่ชาไปจำพรรษาที่วัดหนองป่าพง แต่อยู่ได้เพียง 2 เดือน หลวงปู่สิงห์ก็กราบลาหลวงปู่ชา กลับมายังบ้านเกิดที่จังหวัดสุรินทร์ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าวิชากรรมฐานที่ได้เรียนนั้นไม่ถูกจริต

หลวงปู่สิงห์กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านดงถาวร ท่านอยู่จนถึงพรรษาที่ ขณะนั้นที่วัดโพธิ์ศรีธาตุ ซึ่งเป็นวัดที่เดิมเคยมีเจดีย์อยู่แต่ได้ผุพังลงกลายเป็นเนินดิน เมื่อถากถางต้นไม้และวัชพืชออกจึงพบว่ามีฐานเจดีย์อยู่ พื้นที่เดิมเป็นของเอกชนคือลูกพี่ลูกน้องของปู่แป้นและได้ถวายให้เป็นธรณีสงฆ์ของวัดบ้านตะเคียนซึ่งอยู่ห่างออกไป 10 กิโลเมตร ทางวัดเห็นว่าพื้นที่กว้างขวางถึง 51 ไร่ จึงให้สร้างวัดขึ้น แต่ยังไม่มีสิ่งปลูกสร้างอะไรมาก ทางวัดบ้านตะเคียนส่งพระมาเป็นเจ้าอาวาส แต่อยู่ไม่ได้เพราะผีดุ ไม่มีพระองค์ไหนอยู่ได้ เป็นที่ร่ำลือไปทั่ว ชาวบ้านจึงไปนิมนต์หลวงปู่สิงห์ให้มาปราบผี เมื่อสำเร็จแล้วชาวบ้านจึงนิมนต์ให้ท่านอยู่ที่นี่เสียเลย ท่านจึงดำเนินการก่อสร้างศาสนสถานให้เป็นวัดอย่างสมบูรณ์

ในขณะนั้นท่านทราบว่าหลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และเป็นศิษย์ของหลวงปู่ดุลย์ด้วย เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้ไปสมัครเป็นลูกศิษย์ขอเรียนกรรมฐานด้วย แต่หลวงปู่สามท่านบอกว่าท่านสอนไม่เก่ง สอนได้แค่คำเดียวว่า จิตหนึ่ง ซึ่งหลวงปู่ก็ยังไม่เข้าใจ หลวงปู่สามจึงพาหลวงปู่สิงห์ไปฝากเป็นศิษย์หลวงปู่ดุลย์ที่วัดบูรพาราม ในอำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ หลวงปู่ดุลย์เห็นว่าพระองค์นี้มีวาสนา จึงรับไว้ หลวงปู่สิงห์ต้องขึ้นรถไฟจากวัดโพธิศรีธาตุเข้าไปเรียนกับหลวงปู่ดุลย์ทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ นอกจากไปเรียนที่วัดบูรพารามแล้ว หลวงปู่สิงห์ยังไป ๆ มา ๆ ที่วัดป่าไตรวิเวก และได้รู้จักกับหลวงปู่คืน ซึ่งมาอยู่กับหลวงปู่สาม

หลวงปู่คืน เดิมเป็นศิษย์ฆราวาสของหลวงปู่เทศน์ เทศน์รังสี วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนได้ธรรมขั้นสูง พิจารณาเห็นว่าเมื่อมาถึงระดับนี้จะต้องบวชเป็นพระแล้ว จึงเดินทางกลับมาบวชที่บ้านเกิดคือจังหวัดสุรินทร์และจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่สาม ช่วงนั้นหลวงปู่คืนได้ออกไปสร้างวัดขึ้นใหม่ คือวัดบวรสังฆาราม หลวงปู่สิงห์เดินทางไปช่วยท่านอยู่เสมอ วัดที่สร้างอยู่ติดกับสะพานทางรถไฟ

วันหนึ่งหลวงปู่คืน นึกอยากทดลองอำนาจพลังจิตของหลวงปู่สิงห์ ว่ามีพลังแรงตามคำร่ำลือหรือไม่ จึงพูดขอทำนองท้าทายหลวงปู่สิงห์ว่า ไหนลองหยุดรถไฟให้ดูหน่อย ช่วงเวลานั้น หลวงปู่สิงห์ยังอยู่ในช่วงที่จิตใจห้าวหาญ จึงตอบสนองด้วยการออกมายืนมองรถไฟที่วิ่งผ่านมา ท่านเพ่งมองไม่ถึงอึดใจ รถไฟก็หยุดนิ่งท่ามกลางสายตาของหลวงพ่อคืนและลูกศิษย์รวมทั้งชาวบ้านที่มาช่วยงานก่อสร้างวัด กลุ่มลูกศิษย์จึงพูดกันต่อ ๆ ไป เมื่อหลวงปู่ดุลย์ท่านทราบเรื่อง จึงเรียกหลวงปู่สิงห์ไปตำหนิและห้ามไม่ให้มองเครื่องบิน เดี๊ยวคนจะตายกันเยอะ และไม่ให้จ้องมองตาคน เพราะคนที่มามีทั้งคิดดีและคิดไม่ดี ถ้าคิดไม่ดีจิตจะไปตอบโต้ทำให้คนนั้นเป็นอันตราย หลวงปู่สิงห์ท่านรับคำและปฎิบัติตามคำสั่งของหลวงปู่ดุลย์มาจนกระทั้งทุกวันนี้ ช่วงหลัง ๆ ท่านค่อยผ่อนคลายลง เนื่องจากลูกศิษย์ขอให้ท่านมองลูกศิษย์บ้างเวลาสนทนากับท่าน เพราะทุกคนเชื่อมั่นว่า ท่านละกิเลสหมดแล้ว

เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงปี พ.ศ.2526 ท่านบวชมาจนครบพรรษาที่ 13 แล้ว หลวงปู่ดุลย์จึงถามท่านว่าจะญัตติไหม นั่นคือจะเปลี่ยนเป็นธรรมยุตินิกายหรือไม่ หลวงปู่สิงห์ท่านก็ตอบรับ แต่ขณะนั้นหลวงปู่ดุลย์ท่านอาพาธต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งท่านก็ยังเป็นห่วงเรื่องการย้ายนิกายของหลวงปู่สิงห์มาก เวลาพระผู้ใหญ่ในจังหวัดไปเยี่ยมหลวงปู่ดุลย์ที่โรงพยาบาล ท่านก็จะถามถึงพระมหานิกายองค์เล็ก ๆ ทุกครั้ง พระผู้ใหญ่ที่ไปเยี่ยมท่านต่างพากันถามว่า ทำไมหลวงปู่ถึงเป็นห่วงพระองค์นี้จัง หลวงปู่ดุลย์จึงตอบไปว่าก็มันเป็นพระแท้ พวกมึงเป็นหรือยัง

หลวงปู่ดุลย์ได้มอบผ้าไตรและบริขารให้กับหลวงปู่สิงห์พร้อมกับเงินค่าใช้จ่ายทั้งหมดผ่านไปทางพระผุ้ใหญ่ ให้ใช้ในการทำพิธีญัตติ นั่นคือหลวงปู่ดุลย์เป็นเจ้าภาพในพิธีครั้งนี้ ทางเจ้าคุณพระรัตนากรวิสุทธิ์ ( หลวงพ่อสถิตย์ ) เจ้าคณะอำเภอเมือง จึงดำเนินการให้จนเสร็จเรียบร้อย หลังจากเปลี่ยนนิกายแล้ว หลวงปู่สิงห์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวิเชียร แต่ชาวบ้านทั่งไปก็ยังนิยมชื่อท่านอยู่ จึงทำให้ท่านมีสองชื่อ ชื่อที่เป็นทางการคือวิเชียร ชื่อที่ชาวบ้านบ้านทั่วไปนิยมเรียกท่านคือ สิงห์

การญัตติหรือเปลี่ยนนิกายในครั้งนี้ ทำให้มีปัญหาเกิดขึ้นกับหลวงปู่สิงห์ โดยไม่ได้คิดล่วงหน้าไว้ก่อน นั่นคือ วัดโพธิ์ศรีธาตุ ที่ท่านจำพรรษาอยู่เป็นวัดที่อยู่ในความปกครองของมหานิกาย ทางกลุ่มคณะผู้ปกครองมหานิกายจึงไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง ได้ส่งเจ้าคณะตำบล และเจ้าคณะอำเภอพร้อมชาวบ้านจำนวนหนึ่งมาขับไล่ท่านถึงวัด หลวงปู่สิงห์ขอเวลาเก็บของ พวกที่มาไล่บอกว่าเดี๋ยวจะให้คนช่วยเก็บ และจะไปอยู่ที่ไหนจะให้คนไปส่ง เป็นการไล่กันแบบปัจจุบันทันด่วน เรื่องนี้ถ้าพิจารณากันโดยเหตุผลทั่วไปก็ไม่เห็นจะต้องรีบร้อนขนาดนี้ ควรให้เวลาเตรียมตัวและหาวัดใหม่เสียก่อน และเรื่องการเปลี่ยนนิกายก็ไม่จำเป็นต้องรังเกียจเดียดฉันท์อะไรกัน อย่างไรก็นับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน

เมื่อออกจากวัดโพธิ์ศรีธาตุ หลวงปู่สิงห์ได้ไปจำวัดที่วัดไผ่ล้อม รุ่งขึ้นจึงเดินทางไปอยู่วัดบวรสังฆารามกับหลวงพ่อคืน แต่เรื่องนี้ยังไม่จบลงเพียงแค่นั้นเพราะมีเรื่องราวที่ทำให้ต้องเล่าขานกันต่อมาจนถึงทุกวันนี้ เรื่องของเรื่องก็คือ เจ้าคณะตำบลและเจ้าคณะอำเภอ เมื่อมาขับไล่หลวงปู่สิงห์แล้วกลับวัดคืนนั้นทั้งสององค์ก็หลับไม่ตื่นอีกเลย เหตุการณ์นี้สร้างความวิตกกังวลกับกลุ่มคนที่ร่วมขบวนไปขับไล่หลวงปู่อย่างมากทีเดียว ต่างพากันจะไปกราบขอขมา แต่ปรากฏว่าหลวงปู่เดินทางเข้าตัวจังหวัดไปแล้ว ความสำนึกที่รู้ว่าตัวเองทำไม่ถูกต้องประกอบกับความกลัวยังฝังใจกลุ่มคนเหล่านั้นมาจนถึงทุกวันนี้ ถ้ามีโอกาสก็จะกราบขอขมาท่านทุกครั้ง สำหรับหลวงปู่นั้นท่านบอกกับลูกศิษย์ว่าท่านไม่ได้ทำอะไร เพราะท่านไม่ได้โกรธเคือง อาจเป็นเพราะเจ้าที่เจ้าทางและเทพเทวดา ที่ดูแลพระธาตุในวัดเขาไม่พอใจ

ผู้เขียนคิดว่าคงเป็นอย่างที่ท่านบอก เพราะท่านเป็นพระแท้อย่างที่หลวงปู่ดุลย์กล่าวไว้ เราก็คงเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่า พระสงฆ์แท้คือพระที่เป็นอริยสงฆ์แล้ว ขั้นต่ำก็คือพระโสดาบัน ส่วนที่ยังไม่ถึงขั้นนี้จะเรียกกันว่า สมมุติสงฆ์ พระที่ขึ้นถึงระดับนี้ท่านไม่ทำร้ายใคร เมื่อหลวงปู่ดุลย์ทราบเรื่อง ท่านจึงสั่งหลวงปู่สิงห์ให้ไปอยู่วัดไตรวิเวกกับหลวงปู่สาม หลังจากที่หลวงปู่สิงห์ญัตติได้สามเดือน หลวงปู่ดุลย์ท่านก็ละสังขาร เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2526 หลวงปู่ดุลย์ท่านเคยบอกลูกศิษย์ไว้ว่า ในหมู่พระสายกรรมฐานที่ท่านรู้จักและได้สัมผัสมานั้น มี องค์ที่มีพลังจิตแรงมาก คือ 1. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร 2. หลวงพ่อพุทธ ฐานิโย 3.หลวงปู่สิงห์ ธมฺมสาโร ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นหลวงปู่สิงห์ยังบวชได้ไม่นานนัก ถึงตอนที่เปลี่ยนนิกายก็เพิ่ง 13 – 14 พรรษา แต่พลังจิตของท่านก็แรงได้ขนาดที่หลวงปู่ดุลย์ยังยกย่อง

ขณะที่ท่านอยู่วัดป่าไตรวิเวก ผู้ใหญ่คง โต้เศรษฐี ผู้ซึ่งมีความเคารพนับถือหลวงปู่สิงห์มาก อยากให้ท่านกลับมาอยู่ใกล้ ๆ ที่เดิมคือที่ตำบลกุดหวาย อำเภอศีขรภูมิ ผู้ใหญ่คงจึงไปซื้อที่จากน้องสาวของหลวงปู่สิงห์ ที่ได้รับมรดกตกทอดมา เป็นที่ที่อยู่ห่างจากวัดโพธิ์ศรีธาตุประมาณสองกิโลเมตร จึงไปนิมนต์หลวงปู่สิงห์ให้กลับมาสร้างวัดที่นี่ หลวงปู่สิงห์รับนิมนต์และเริ่มสร้างวัดในปี 2527 จนถึงปี 2528 ท่านจึงออกจากวัดป่าไตรวิเวก กลับมาดำเนินการสร้างวัดต่อจนเสร็จในปี 2530 และได้รับวิสุงคามสีมาและอยุ่ในทำเนียบกรมการศาสนาในปีเดียวกันนั้น ตั้งแต่เริ่มสร้างได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดป่าหนองคูโบสถ์ ( แสนสบาย ) แต่ทางกรมการศาสนาเห็นว่ายาวเกินไป จึงใช้แค่ชื่อว่า วัดโบสถ์ จากนั้น ท่านได้นิมนต์หลวงปู่สามให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้อีกวัดหนึ่ง เพราะหลวงปู่สิงห์อายุพรรษายังไม่ถึงเนื่องจากการเปลี่ยนนิกายธรรมยุติ จะเริ่มนับอายุพรรษาใหม่ ถัดมาอีก 1 ปี คือ พ.ศ.2531 อายุพรรษาของหลวงปู่สิงห์สามารถเป็นเจ้าอาวาสได้แล้ว หลวงปู่สามจึงลาออกและมอบตำแหน่งให้หลวงปู่สิงห์เป็นเจ้าอาวาสจนถึง พ.ศ.2553 หลวงปู่สิงห์ท่านก็ลาออกและมอบตำแหน่งเจ้าอาวาสให้กับพระครูปิยะธรรมากร

ขอย้อนกลับมาเรื่องการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่สิงห์ หลังจากได้ทำการญัตติแล้ว ระหว่างการจำวัดที่วัดป่าไตรวิเวก ท่านก็ปฏิบัติตามคำสอนของหลวงปู่ดุลย์ แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นสุดท้าย จนกระทั่งได้พูดคุยกับหลวงพ่อคืนในเรื่องการเห็นจิต ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยคุยกัน ได้แต่ต่างคนต่างปฏิบัติกันไป หลวงพ่อคืนบอกกับท่านว่า ไม่ยากและได้สอนวิธีกำหนดจิตและภาวนาให้หลวงปู่สิงห์ฟัง หลวงปู่สิงห์บอกกับหลวงพ่อคืนว่า ถ้ารู้วิธีแบบนี้ก็คงจะทำได้ภายในคืนนี้ ดังนั้น ท่านจึงนั่งกำหนดจิตโดยมีหลวงปู่คืนนั่งอยู่ด้วยเป็นเวลาสองชั่วโมง หลวงปู่สิงห์ถึงได้เห็นจิต หลวงปู่คืนจึงถอยออกมาแล้วรีบออกไปรายงานกับหลวงปู่สามว่า ท่านสิงห์เห็นจิตแล้ว หลวงปู่สามจึงบอกว่าเราเป็นพระคงไปคุยหรือไปรับรองไม่ได้ ถ้าจะให้ลูกศิษย์ทั่วไปเขารู้ ต้องพาท่านสิงห์ไปพบอาจารย์รอด สุกแสงจันทร์ ถ้าอาจารย์รอดกราบก็แสดงว่าท่านสิงห์เห็นจิตแล้ว หลวงปู่คืนจึงพาหลวงปู่สิงห์ไปหาอาจารย์รอดภายหลังจากที่หลวงปู่สิงห์นั่งต่อจากวันที่เห็นจิตนั้นอีกสามวันสามคืน เมื่อไปถึงก็พบว่าอาจารย์รอดปูผ้ารอรับอยู่แล้วและก้มลงกราบเมื่อเห็นหลวงปู่สิงห์ท่ามกลางสายตาของพระลูกศิษย์ทั้งหลาย เหตุที่ต้องเป็นอาจารย์รอด สุกแสงจันทร์ เพราะเป็นที่รู้กันว่าอาจารย์รอดสำเร็จธรรมขั้นสูง พระองด์ไหนถ้ายังไม่เห็นจิตท่านจะไม่กราบ

ก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องวัตถุมงคลของหลวงปู่สิงห์ ผู้เขียนขอเวลาสรุปเรื่องราวและข้อมูลต่าง ๆ ที่นำเสนอต่อท่านผุ้อ่าน เพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผู้เขียนเคยพูดอยู่เสมอว่า การที่จะศรัทธาอะไร ต้องศรัทธาด้วยปัญญา ซึ่งเรื่องนี้ถ้าเราใช้สติ ตัดความหลงออกไป เราก็จะสามารถแยกแยะได้ไม่ยากว่าจะศรัทธาอะไร ศรัทธาใคร เพราะฉะนั้นสิ่งที่พวกเราศรัทธากันอยู่เช่น วัตถุมงคล เรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ เรื่องของพระสงฆ์ ก็ควรศรัทธาด้วยปัญญา และในสังคมพระเครื่องของเราก็ต้องพุ่งเป้าไปที่วัตถุมงคลซึ่งมีที่มาแตกต่างกัน ที่ผู้เขียนอยากจะกล่าวถึงก็คือวัตถุมงคลของเกจิอาจารย์ แน่นอนว่าถ้าเราต้องการใช้และเก็บวัตถุมงคลแบบนี้ก็ต้องพิจารณาไปถึงองค์อาจารย์ผู้ปลุกเสก

ตามความเห็นของผู้เขียนจะต้องเริ่มที่พระระดับอริยสงฆ์ขึ้นไป เพราะพระตั้งแต่ระดับนี้ปลุกเสกวัตถุมงคลแล้วจะไม่เสื่อม โดยเฉพาะพระทุกองค์ทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านเรื่องวิชาอาคม หรือด้านอิทธิฤทธิ์ก็สามารถอธิษฐานจิตได้ทุกองค์ แต่จะมีอิทธิฤทธิ์ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละองค์และบุญบารมีที่มีมาแต่อดีตชาติ ดังนั้น เราจึงต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นประกอบด้วยนั่นคือ ท่านผ่านวิชาอาคมมาหรือเปล่า ผ่านทางด้านอิทธิฤทธิ์หรือเปล่า เพราะถ้าผ่านจะได้เปรียบกว่าองค์ที่ไม่ผ่าน แต่ก็ยังมีปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งคือความกล้าแข็งของพลังจิต ไม่ว่าระดับใดถ้าพลังจิตกล้าแข็งหรือแรงย่อมมีอิทธิฤทธิ์มากกว่า

ปัญหาก็คือว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไร เรื่องนี้จะว่ายากก็ยากแต่ก็คงจะไม่ยากจนเกินไปนัก สิ่งแรกเลยเมื่อเราไปหาเกจิอาจารย์องค์ใด ถ้าคุยโม้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งอย่างนั้นอย่างนี้ก็ควรจะต้องระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้จะมีพระที่เห็นแค่เพียงภายนอกแค่ห่มผ้าเหลืองแต่พฤติกรรมนั้นมีกิเลสมากกว่าฆราวาสเสียอีก พระเหล่านี้เมื่อเราได้สัมผัสก็พิจารณาได้ไม่ยากเมื่อพบเจอก็ควรถอยออกมา 

ส่วนพระที่เราจะยอมรับและศรัทธาในเรื่องภูมิธรรม เรื่องอำนาจพลังจิตซึ่งมีผลต่อวัตถุมงคลนั้น สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คงมีอยู่ไม่กี่เรื่องตามที่ผุ้เขียนได้กล่าวมาแล้ว นั่นคือ ความสำเร็จในการปฏิบัติธรรม ความรู้ในเรื่องวิชาอาคม ความแรงของพลังจิต ด้วยความที่เราเป็นคนธรรมดาเราไม่สามารถทราบได้ด้วยจิตของเรา แต่เราสามารถทราบได้จากวัตรปฏิบัติ คำสอน การบอกกล่าวของพระที่มีธรรมขั้นสูงด้วยกันกับท่าน และที่สำคัญคืออภินิหารที่เกิดจากท่านรวมทั้งประสบการณ์ของพวกเราหรือของคนอื่นที่ได้ประสบกันมา ซึ่งคุณวิเศษเหล่านี้มีพร้อมอยู่ในหลวงปู่สิงห์ พระเกจิอาจารย์สายกรรมฐานที่ผู้เขียนจะนำมากล่าวให้ท่านทราบอีกครั้งเพื่อท่านผู้อ่านจะนำรายละเอียดมาพิจารณากับเหตุผลต่าง ๆ ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้

เรื่องแรกคือระดับชั้นภูมิธรรมของท่าน เรื่องนี้เราผู้เป็นคนธรรมดาไม่สามารถไปวิพากวิจารณ์ได้ แต่ผู้เขียนจะขอยกคำพูดของอาจารย์ผู้สำเร็จธรรมขั้นสูงกล่าวถึงท่าน

องค์แรกคือ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ซึ่งอัฐิของท่านเป็นพระธาตุ ท่านกล่าวบอกกับพระผู้ใหญ่หลายท่านที่ปัจจุบันนี้ยังมีชีวิตอยู่ว่า หลวงปู่สิงห์นั้นเป็นพระแท้ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ข้างต้น

องค์ที่สองคือหลวงพ่อคืน เจ้าอาวาสวัดบวรสังฆาราม อัฐิของท่านก็กลายเป็นพระธาตุ หลวงพ่อคืนเป็นองค์ผู้บอกเคล็ดของกรรมฐานให้กับหลวงปู่สิงห์จนสามารถเห็นจิตได้ภายในวันนั้น และหลวงพ่อคืนรีบไปบอกหลวงปู่สาม ซึ่งหลวงปู่สามบอกให้พาหลวงปู่สิงห์ไปพบอาจารย์รอด สุกแสงจันทร์ เพื่อแสดงให้ทุกคนเห็นว่าหลวงปู่สิงห์สำเร็จแล้ว 

องค์ที่สามคือ หลวงปู่กิม ทีปธมฺโม วัดป่าดงคู เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ดุลย์ อัฐิของท่านก็กลายเป็นพระธาตุ เรื่องนี้เกิดในช่วงปี 2537 -2538 หลวงปู่สิงห์ได้ไปเยี่ยมหลวงปู่กิม หลวงปู่กิมได้พูดขึ้นท่ามกลางลูกศิษย์ว่า ท่านสิงห์ได้บำเพ็ญตนเป็นฤาษีมา ชาติแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของท่าน

จากคำกล่าวของพระอรหันต์ถึง 3 องค์ เป็นสิ่งยืนยันว่าหลวงปู่สิงห์ท่านสำเร็จธรรมชั้นสูง ถ้าพิจารณาจากคำพูดของพระอรหันต์ทั้ง 3 องค์จะเห็นได้ชัดเจนว่าหลวงปู่ท่านผ่านขั้นสุดท้ายของอริยสงฆ์ไปแล้ว และสิ่งนี้เป็นที่รับรองได้ว่าวัตถุมงคลที่ท่านอธิษฐานจิตและปลุกเสกจะไม่มีวันเสื่อมแน่นอน

อีกเรื่องหนึ่งคือ ความรู้ความสามารถในเรื่องวิชาอาคม เรื่องนี้คงไม่ต้องสงสัยเพราะท่านเกิดมาในสกุลบุญภา ปู่ของท่านเป็นที่ยกย่องในเรื่องขมังเวทย์ นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อจูม เกจิอาจารย์ขมังเวทย์ในสมัยนั้นซึ่งถือว่าเป็นพ่อบุญธรรมของหลวงปู่อยู่แล้ว ทั้งสองท่านเป็นผู้สั่งสอนหลวงปู่ในเรื่องวิชาอาคมมาตั้งแต่เด็ก นอกจากนี้ในชีวิตท่านทั้งตอนที่เป็นฆราวาสและบรรพชิตได้พบปะอาจารย์ที่ทรงความรู้ในเรื่องวิชาอาคมมากมาย หลวงปู่สิงห์จึงมีความรู้ในเรื่องวัตถุมงคลเกือบทุกอย่าง หลวงพี่สุรฤทธิ์ ธมฺมทินโน บอกกับผู้เขียนว่าวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่ชาวบ้านมาขอให้ท่านปลุกเสกให้ ท่านจะปลุกเสกให้ไม่เหมือนกัน แสดงว่าท่านเข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างดี เพียงแต่ว่าท่านไม่สร้างวัตถุมมงคลรวมทั้งไม่ค่อยยอมให้ใครสร้าง

อีกประการหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากนั่นคือความกล้าแข็งของพลังจิต เรื่องนี้มีทั้งคำกล่าวของหลวงปู่ดุลย์ที่บอกกับพระผู้ใหญ่ในสมัยนั้นว่า หลวงปู่สิงห์เป็นผู้มีพลังจิตแรงมาก เป็นหนึ่งในสามของพระในสายกรรมฐานที่มีพลังจิตแรงที่ท่านรู้จักและเคยสัมผัสมาดังที่ผู้เขียนได้เคยเล่าไว้แล้ว และยังมีเหตุการณ์ที่ยืนยันในเรื่องนี้ที่ผู้เขียนกล่าวถึงคือการเพ่งจนรถไฟหยุด เรื่องนี้ถ้าไม่แรงจริงก็ไม่สามารถทำได้ ผู้ที่จะทำได้อย่างนี้มีไม่กี่องค์นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ที่ผู้เขียนอยากเพิ่มเติมเพื่อยืนยันถึงเรื่องของพลังจิตของท่าน คือ การบังคับให้ฟ้าผ่าได้ มีอยู่ถึง 2 – 3 ครั้งที่หลวงพี่สุรฤทธิ์เล่าให้ผู้เขียนฟังคือ

เรื่องแรก ในพิธีเททองหล่อพระประธานของวัดโพธิ์ศรีธาตุ ทางวัดนิมนต์หลวงปู่สิงห์ไปนั่งส่งพลังจิตในการทำพิธี เมื่อท่านขึ้นนั่งกำหนดจิตท้องฟ้าที่สว่างโปร่งอยู่ก็เกิดมืดครื้มและมีเมฆปกคลุมเหมือนฝนจะตก สักอึดใจเดียวฟ้าก็ผ่าลงมาที่เบ้าหลอมทอง แต่ปรากฎว่าเบ้าไม่เป็นอะไรเลย อยู่ในสภาพดีพร้อมที่จะเททองได้ ผู้เขียนคิดว่าท่านคงใช้ความสามารถของท่านดึงกระแสไฟฟ้าจากท้องฟ้าเพื่อมาเพิ่มพลังให้กับโลหะที่จะสร้างเป็นองค์พระ

เรื่องที่สอง คือที่พิธีปลุกเสกวัตถุมงคลวัดป่าบ้านงิ้ว หลวงพี่สุรฤทธิ์ได้ไปกับหลวงปู่ เล่าว่า เมื่อไปถึงก่อนขึ้นธรรมาสน์เพื่อทำพิธีปลุกเสก ขณะที่ท่านอยู่ด้านนอกท่านได้ยกนิ้วชี้ขึ้นและเขียนหมุน ๆ เป็นวงกลมแล้วกดนิ้วลง ฟ้าก็ผ่าเปรี้ยงลงมาแต่เกิดนอกพิธี ผู้เขียนคิดว่าคงเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากท่านหลวงปู่ทราบว่ามีกระแสไฟฟ้าบนท้องฟ้ามากมาย และวันนั้นเป็นวันสงกรานต์ คือวันที่ 13 เมษายน2556 ส่วนใหญ่วันนี้จะมีฝนตก คนค่อนข้างเยอะท่านคงเกรงว่ากระแสไฟบนท้องฟ้าจะทำอันตรายคน ท่านจึงดึงลงมาเสียก่อน จากนั้นเมื่อท่านขึ้นนั่งทำพิธีปลุกเสก มีผู้บันทึกภาพไว้ ปรากฏว่าภาพที่ออกมานั้นมีประกายแสงคลุมตัวท่านและส่งสายไฟออกมาเหมือนสายฟ้า ซึ่งเราจะไม่พบแสงแบบนี้จากองค์อื่นๆ ส่วนใหญ่ก็คือเป็นแสงไฟจาง ๆ วนไปมารอบตัวเท่านั้น

ภาพบนคือภาพหลวงปู่ในพิธีปลุกเสกเปรียบเทียบกับสายฟ้าผ่ากับภาพล่าง

เรื่องที่สาม เป็นเรื่องที่หลวงพี่สุรฤทธิ์ อยากรู้เรื่องการใช้พลังจิตที่หลวงปู่เคยใช้ทำพิธีให้ฟ้าผ่า หลวงปู่จึงอธิบายและแสดงให้เห็นโดยเข้าไปในห้องและนั่งสมาธิ มีหลวงพี่สุรฤทธิ์นั่งอยู่ข้างหน้าท่าน พอท่านเริ่มกำหนดจิต เสียงฟ้าก็ร้องดังครืน ๆ เมื่อหลวงปู่หันหน้าไปทางซ้ายเสียงฟ้าก็ผ่าเปรี้ยงไปทางที่หลวงปู่หันหน้าไป เมื่อหันหน้าไปทางขวาเสียงฟ้าผ่าก็ดังเปรี้ยงทางด้านขวา เหตุการณ์ของการเอากระแสไฟฟ้าลงจากท้องฟ้าโดยหลวงปู่นั้นเกิดขึ้นหลายครั้งหลายหนที่วัดโบสถ์

ทั้งสามเรื่องที่ผู้เขียนเล่ามา เป็นที่สรุปได้ว่าพลังจิตของท่านนั้นแรงสุดยอด  เ พราะถ้าไม่แรงจริงจะส่งขึ้นไปถึงท้องฟ้าและดึงกระแสไฟฟ้าที่มีปริมาณมหาศาลและมีความแรงในตัวเองรุนแรงมาก ครั้งหนึ่ง ๆ ที่ฟ้าผ่านั้นมีกระแสไฟฟ้าถึง 100 ล้านโวลท์ อำนาจอย่างนี้เป็นอำนาจเฉพาะตัวที่เกิดจากการสะสมบารมีมาแต่อดีตชาติ

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเป็นที่รับรู้ของชาวบ้านแถวนั้น คือ โดยปกติหลวงปู่ท่านจะเป็นผู้รักสงบ ท่านสร้างวัดไว้ให้เป็นที่เงียบสงบเพื่อการปฏิบัติธรรม แต่จะมีชาวบ้านที่อยู่แถวนั้น เวลามีงานก็มักจะมีมหรสพ เช่นมีดนตรี มีฉายหนัง และพวกนักฉายหนังก็มักจะเปิดเสียงให้ดังมากเพื่อโชว์ความยิ่งใหญ่ของเครื่องเสียง ถ้าอยู่ใกล้ๆ หลวงปู่จะให้คนตามมาพบและบอกกล่าวให้ลดเสียงลงบ้าง แต่พวกนั้นส่วนใหญ่มักไม่ค่อยฟังเพราะมองว่าท่านเป็นเพียงหลวงตาแก่ ๆ พอกลับไปก็ไม่ใส่ใจปฏิบัติตาม สักครู่เดียวเครื่องไฟ เครื่องเสียงก็ไหม้ จอหนังก็ไหม้ บางครั้งงานอยู่ไกลวัดแต่เสียงก็ดังมารบกวน ชาวบ้านไม่เป็นอันหลับอ้นนอน พากันมาฟ้องหลวงปู่ แป๊บเดียวเครื่องไฟฟ้าก็พัง จอหนังก็ไหม้ บ่อยๆ เข้าพวกคนฉายหนังก็พากันเข็ดขยาดไปตาม ๆ กัน ต่างพากันสงบเสงี่ยมเบาเสียงลง ความจริงก็ควรจะเกรงใจชาวบ้านเขาบ้าง เปิดเสียงแค่ได้ยินกันตรงคนดู คนที่ไปร่วมงานก็พอ

เหตุการณ์เรื่องราวทั้งหมดที่ผู้เขียนเล่ามานี้ เป็นเรื่องที่มีประจักษ์พยาน และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งบ่งบอกถึงความแรงของพลังจิตหลวงปู่สิงห์ได้เป็นอย่างดี

วัตถุมงคล

ในสายพระกรรมฐานหลวงปู่สิงห์เป็นที่รู้จักได้รับการยกย่องและเคารพนับถือกันโดยทั่วไป ส่วนในวงการพระเครื่องจะไม่ค่อยได้ยินชื่อของหลวงปู่สิงห์ วัดโบสถ์ที่จังหวัดสุรินทร์มากนัก หลายคนอ่านเรื่องของท่านตามที่ผู้เขียนนำเสนอมา คงเกิดความสงสัยว่า ท่านมีอภินิหาร มีพลังจิตกล้าแข็งแบบนี้ ทำไมกลุ่มคนในวงการพระถึงไม่ค่อยรู้จัก เรื่องนี้มีเหตุผลง่าย ๆอยู่ในตัวเองคือ ท่านไม่สร้างวัตถุมงคล และไม่อนุญาตให้ใครสร้าง มีลูกศิษย์และผู้ศรัทธาท่านจำนวนมากไปขอสร้าง ท่านไม่อนุญาตโดยบอกว่า วัตถุมงคลของพ่อแม่ ครูอาจารย์ ยังมีอยู่เยอะแยะ ของ ๆ ท่านยังไม่จำเป็นต้องสร้าง

สิ่งที่ท่านเน้นคือ ขอให้พระในวัดศีกษาและปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน ตัวท่านเองก็ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ท่านบอกลูกศิษย์ว่า ศีล คือเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติ ลูกศิษย์ที่ไม่อยุ่กับร่องกับรอย หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย ท่านจะดุ ความดุของท่านมีกิตติศัพท์เป็นที่เลื่องลือ ทุกวันท่านจะตื่นตอนตีสอง เพื่อทำวัตรเช้าและเจริญกรรมฐานจนเช้า จากนั้นก็ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของสงฆ์ บ่ายก็มักจะเก็บตัว ท่านจะรักสงบไม่ค่อยพบกับใคร จนในระยะหลัง ๆ เมื่อมีคนไปหาท่านมาก ท่านจึงต้องออกมาพบปะญาติโยมที่เคารพศรัทธาท่าน และอยากมาทำบุญ ท่านจึงออกมาให้เวลากับพุทธบริษัททั้งหลาย

ด้วยความที่ไม่ได้สร้างวัตถุมงคลออกมา จึงไม่มีของในนามของท่านออกมาเผยแพร่ ส่วนใหญ่คนในวงการพระก็จะสนใจแต่เรื่องวัตถุมงคล เรื่องกรรมฐานไม่ค่อยเข้าถึงเท่าไร ชื่อเสียงของท่านในเรื่องวัตถุมงคลจึงยังไม่แพร่หลายออกมาในวงกว้าง จะรู้กันแต่เพียงในท้องถิ่น เมื่อมีคนต้องการท่านก็ให้ลูกศิษย์เขียนตะกรุดแล้วท่านก็ปลุกเสกให้ บางคนก็ทำโน่นทำนี่ที่มีอย่างละชิ้นสองชิ้นไว้ใช้เองมาขอให้ท่านปลุกเสก ท่านก็ทำให้

ด้วยความที่อยากมีวัตถุมงคลของท่านไว้ใช้ เพราะทุกคนประจักษ์ใจดีว่าท่านเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์ มีพลังจิตแข็งกล้า ขอให้เป็นอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับท่านก็อยากได้ทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดวัตถุมงคลขึ้นมาแบบหนึ่งที่ทุกคนต่างพากันเอาไปพก ไปบูชาที่บ้าน ไปเก็บไว้ในรถ วัตถุมงคลนี้เป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากหลวงพ่อสมาน ลูกศิษย์ของหลวงปู่สิงห์ วันหนึ่งหลวงพ่อสมานได้ชักชวนพระเณรลูกศิษย์ในวัด และชาวบ้านที่อยู่ในเวลานั้น ว่าจะทำอะไรให้ดู ท่านชี้ไปที่รุ้งกินน้ำแล้วอวดรูปของหลวงปู่สิงห์ให้ทุกคนดู จากนั้นจึงยกรุปขึ้นตัดรุ้ง เมื่อฟันฉับลงรุ้งก็ขาดแยกจากกัน เท่านั้นเองก็ขอรูปไปถ่ายและอัดมาแจกกัน เมื่อหลวงปู่ท่านทราบเรื่องก็ให้หลวงพ่อสมานลงยันต์และท่านอธิษฐานจิตให้

รูปที่ตัดรุ้งขาด

ต่อมาลูกศิษย์จึงพยายามขออนุญาตสร้างวัตถุมงคลที่เป็นรูปลักษณ์ของท่าน สำหรับแจกให้ญาติโยมที่เคารพศรัทธาท่าน และอยากได้วัตถุมงคลที่เป็นของท่าน จนกระทั่งจะมีงานฝังลูกนิมิต จึงใด้โอกาสขอท่านสร้างล็อคเก็ตเพื่อแจกในงาน ท่านอนุญาตให้สร้างได้ จึงได้เกิดวัตถุมงคลที่เป็นรูปท่านเป็นครั้งแรก และว่างเว้นเป็นเวลานานจึงจะทำขึ้นอีก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2556 จึงได้มีการสร้างขึ้นอีก 2-3 รูปแบบ ทุกครั้งจะเป็นการสร้างในจำนวนที่พอเหมาะพอดี

ก่อนที่ผู้เขียนจะนำรายละเอียดวัตถุมงคลของท่านแต่ละรุ่นมาเสนอต่อท่านผู้อ่าน ผู้เขียนขอเปิดเผยความรู้สึกและความเห็นต่อท่านผู้อ่านสักเล็กน้อยคือ ผู้เขียนมีความรู้สึกอิจฉาคนจังหวัดสุรินทร์ ที่อยู่ในท้องถิ่นที่มีพระอริยะสงฆ์จำนวนมากและมีจำนวนไม่น้อยที่ปฏิบัติจนถึงขั้นหลุดพ้น ถึงแม้ว่าหลายท่านจะละสังขารไปแล้ว แต่ก็ยังมีอยู่ไม่ขาดสาย ที่สำคัญคือในปัจจุบันยังมีหลวงปู่สิงห์ แห่งวัดป่าหนองคูโบสถ์ (วัดโบสถ์) ที่เพียบพร้อมไปด้วยญาณสมาธิและพลังจิตอันกล้าแข็ง มีความรอบรู้ในเรื่องวิชาอาคม

ผู้เขียนคิดว่าคนสุรินทร์เป็นคนโชคดีและมีบุญ ถ้าต้องการวัตถุมงคลมาคุ้มครองกาย มากราบไหว้บูชา มาช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาในการดำเนินชีวิต และหรือต้องการกราบไหว้พระสุปฏิปันโนอันเป็นเนื้อนาบุญ ก็ไม่ต้องเดินทางดั้นด้นไปเสาะหาให้เสียเวลา เพราะว่ามีของวิเศษอยู่ใกล้ตัว แต่ถ้าพากันมองข้ามก็นับว่า เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

วัตถุมงคล

1. รุ่นฝังลูกนิมิต

1.1 ล็อคเก็ตรุ่นแรก

สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2545 ขณะนั้นท่านอายุ 73 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกของท่าน สร้างขึ้นเพื่อแจกในงานฝังลูกนิมิต เป็นล็อคเก็ตรูปหันเฉียง ๆ

จำนวนการสร้าง         200 อัน

ขนาด กว้าง                 1.8 ซม.

สูง                              2.4 ซม.

เป็นล็อคเก็ตที่มีขนาดค่อนข้างเล็กและสร้างแบบง่าย ๆ

2. รุ่นฉลองพัดยศ

2.1 เหรียญรุ่นแรก

สร้างขึ้นในปี 2550 เพื่อแจกในงานฉลองสัญญาบัตรพัดยศของหลวงปู่ ลักษณะเป็นเหรียญเสมา หลวงปู่นั่งเต็มองค์ ด้านหลังยันต์

ขนาด กว้าง             2.5 ซ.ม.

สูง                           3.2 ซ.ม.

วันที่ 22 มิถุนายน 2558 ผู้เขียนขอแก้ไข้รายละเอียดจำนวนการสร้างเหรียญรุ่นแรกของหลวงปู่สิงห์ เนื่องจากมีข้อมูลใหม่ที่แสดงว่า เหรียญบางเนื้อนั้นปั๊มขึ้นทีหลังโดยใช้บล็อคเดิม แต่ตัวตัดเปลี่ยนไป ซึ่งตรงนี้ก็ยังเป็นโชคดีอยู่ที่ทำให้สามารถแบ่งแยกความถูกต้องได้ ผู้เขียนต้องขออภัยต่อท่านผู้อ่านทุกท่าน และขอเปลี่ยนปลงจำนวนเหรียญที่เป็นเหรียญรุ่นแรกดังนี้

จำนวนการสร้าง 

ทองแดงกะไหล่ดีบุก            1,000 เหรียญ

ทองแดงรมเม็ดมะขาม          1,000      “

การได้สมณศักดิ์ในครั้งนี้ ตัวหลวงปู่เองท่านไม่ต้องการและท่านก็บอกกับลูกศิษย์อยู่ว่าไม่รู้จะเอาไปทำไม นั่นก็คือท่านปล่อยวางหมดแล้ว แต่ลูกศิษย์ไม่ยอมและพยายามอ้อนวอนขอให้ท่านรับตำแหน่งนี้ 

เหรียญเนื้อทองแดงรมเม็ดมะขาม

2.2 รูปหล่อบูชาหลวงปู่

สร้างพร้อมกับเหรียญรุ่นแรกขนาดหน้าตัก 3 นิ้ว ทำจากเนื้อทองเหลือง

จำนวนการสร้าง 450 องค์

2.3 พระบูชาพระพุทธ

สร้างพร้อมกับรูปหล่อและเหรียญรุ่นแรก ขนาดหน้าตัก นิ้ว สร้างจากเนื้อทองเหลือง จำนวนการสร้าง 100 องค์

2.4 บาตรน้ำมนต์

จำนวนการสร้าง 12 ใบ เนื่องจากเวลากระชั้นชิดไม่สามารถจัดสร้างได้ทัน หลวงพี่สุรฤทธิ์จึงขอแบ่งจากลูกศิษย์ของหลวงปู่บุญญฤทธิ์ที่กำลังสร้างอยู่มาจำนวน 12 ใบ แต่เขียนรายละเอียดเป็นของหลวงปู่สิงห์

ขนาด กว้าง 7 นิ้ว 

สูง 8 นิ้ว 

3. รุ่นวัดสีหะลำดวน

        3.1 เหรียญรุ่นสอง

สร้างขึ้นเมื่อต้นปี 2556 ออกในนามวัดสีหะลำดวน ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่สิงห์อุปถัมภ์อยู่ เนื่องจากเป็นวัดที่ท่านสร้างขึ้นตามที่ชาวบ้านร้องขอและถวายที่ให้ เมื่อสร้างเสร็จหลวงปู่ได้ส่งพระไปเป็นเจ้าอาวาสลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ รูปหลวงปู่ครึ่งองค์

ขนาด กว้าง        2.8 ซ.ม.

สูง                      3.6 ซ.ม.

จำนวนการสร้าง

เนื้อเงินธรรมดา                             9            เหรียญ

เนื้อเงินลงยาสีแดง                        9                   “

เนื้อเงินลงยาสีเขียว                       9                   “

เนื้อนวะ                                     109                   “

เนื้อนวะลงยาสีน้ำเงิน                  109                  “

เนื้อทองแดง                            8,463                  “

เนื้อทองแดงลงยาสีน้ำเงิน           100                  “

เนื้อทองแดงลงยาสีแดง               100                 “

เนื้อทองแดงลงยาสีเหลือง            100                 

4. รุ่นสร้างเจดีย์

หลังจากการสร้างเหรียญรุ่นแรกผ่านพ้นไปเป็นเวลาหลายปี ท่านเพิ่งอนุญาตให้สร้างเหรียญที่ออกในนามวัดสีหะลำดวน เมื่อต้นปี 2556 จนกระทั่งปลายปี 2556 ท่านจึงอนุญาตให้สร้างวัตถุมงคลในนามของวัดโบสถ์ขึ้นอีก ระหว่างที่ว่างเว้นอยู่ก็มีคนมาขอสร้างหลายคน แต่ท่านไม่อนุญาต เหมือนกับท่านรอให้ถึงเวลาที่สมควร 

จนกระทั่งคุณณัทณเอก ภู่นพคุณ ซึ่งไม่เคยรู้จักหลวงปู่มาก่อนได้ไปกราบพระตามวัดต่าง ๆ ในจังหวัดสุรินทร์ ได้มีคนแนะนำว่าน่าจะไปกราบหลวงปู่สิงห์ คุณณัฑณเอก ฯ จึงเดินทางไปกราบท่าน ได้พบอภินิหารจนเกิดความศรัทธาท่าน เมื่อไปครั้งที่สองจึงขออนุญาตท่านสร้างวัตถุมงคล ทั้ง ๆ ที่คุณณัฑณเอก ยังไม่เคยสร้างวัตถุมงคลมาก่อนเลย หลวงปู่สิงห์ท่านก็อนุญาตในทันที และบอกกับคุณณัทณเอก ว่าท่านจะสร้างเจดีย์

            4.1 เหรียญหล่อรุ่นแรก

หนังสือนุญาต

เหรียญรุ่นนี้มีชื่อว่าเหรียญรุ่นเศรษฐี ทำเป็นเหรียญหล่อโบราณ

ลักษณะและรายละเอียด 

เป็นเหรียญรูปเสมาหลวงปู่นั่งเต็มองค์ ด้านล่างเขียนว่าหลวงปู่สิงห์ด้านหลังเขียนคำว่าเศรษฐี มีอักขระขอม 2 แถว ได้แก่หัวใจเศรษฐีคือ อุ อา กะ สะ และคาถาพระสีวลีคือ นะ ชา ลี ติ ประกอบด้วยอัฐบริขาร ด้านล่าง เขียนว่า วัดโบสถ์ ศีขรภูมิ สุรินทร์ สี่มุมมีอักขระ นะ มะ พะ ธะ ส่วนเหรียญทองคำและเงินที่หลังเรียบจะมีจารด้วยอักขระขอม

ขนาด กว้าง                                                 2.3 ซ.ม.

สูง                                                               3.1 ซ.ม.

จำนวนการสร้าง

เนื้อทองคำหลังเรียบ                                         6 เหรียญ

เนื้อเงินหลังหนังสือ                                           9     “

เนื้อเงินหลังเรียบ                                             17    “

เนื้อนวะ                                                           31    “

เนื้อวัตถุมงคลผสมชนวน                                123    “

เนื้อโลหะผสมตอกเบอร์                               2,547 

เนื้อโลหะผสมตอกกรรมการไม่ตอกเบอร์           17

เนื้อโลหะผสมแบบช่อ ๆ ละ องค์                       9 ช่อ 

เหรียญทองคำ

เหรียญเงินหลังหนังสือ ( เหรียญนำฤกษ์ )

เหรียญเงินหลังหนังสือ เหรียญ เป็นเหรียญหล่อนำฤกษ์ โดยเนื้อเงินที่ใช้ทั้งหมดเป็นวัตถุมงคลล้วน ๆ ประกอบไปด้วย

– ตะกรุดเงินคู่หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง

– ตะกรุดเงินอาจารย์สมคิด นะดี อุทัยธานี

– ตะกรุดเงินหลวงปู่ท่อน

– ตะกรุดเงินหลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง

– ตะกรุดเงินหลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน ดอก

– ตะกรุดเงินหลวงปู่พร้า วัดโคกดอกไม้

– ตะกรุดเงินหลวงพ่อวิชชา วัดช้อนทุเรียน 2 ดอก

– หนุมาณเงินหลวงตาวาส วัดสะพานสูง

– แหวนเงินรุ่นแรกหลวงตาม้า ถ้ำเมืองนะ

– แหวนเงินพิฆเณศร์และแหวนเงินเกลี้ยงที่ผ่านการปลุกเสกจาก

   หลวงปู่ผง

   หลวงปู่พวน วัดช้างหมอบ

   หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด

– แผ่นเงินจารอาจารย์พิจารณ์ วัดโพธิ์ผักไห่

– แผ่นเงินจารหลวงพ่อวัดลาดชิต

– แผ่นเงินจารหลวงปู่คำผา

– แผ่นเงินจารอาจารย์แหวน วัดป่าหนองกด

– แผ่นเงินจารอาจารย์เอราวัณ พุทธยานโกศล

– แผ่นเงินจารครูบาอริยะชาติ แผ่น

– แผ่นเงินจารหลวงปู่สมหมาย วัดป่าอนาลโย

– แผ่นเงินจารหลวงปู่คำบุ

– แผ่นเงินจารหลวงปู่เมียม

– เหรียญสตางค์เงิน

ก่อนเทเหรียญนี้ผู้สร้างได้ขออนุญาตไว้จำนวน 9 เหรียญ แต่ทางโรงงานเตรียมหุ่นไว้ในช่อ 12 เหรียญ ประกอบกับคณะกรรมการพากันบ่นว่าทำไมทำน้อยจัง ผู้สร้างจึงบอกให้เทไปเลยเพื่อที่จะได้เพิ่มอีก 3 เหรียญ ปรากฎว่าเมื่อเทออกมาแล้วได้เหรียญที่สมบูรณ์ออกมาเพียง 9 เหรียญ อีก 3 เหรียญติดเพียงเหรียญละครึ่ง ทั้ง ๆ ที่เงินที่ใช้เทนั้นมีพอและเหลืออยู่เล็กน้อย ถึงแม้ว่าเรื่องนี้จะเป็นเหตุการณ์เล็ก ๆ แต่ก็แสดงถึงบารมีของหลวงปู่ด้วยเช่นกัน

เมื่อกลับมาพิจารณาถึงต้นทุนของเหรียญชุดนี้แล้วจะพบว่า มูลค่าของวัตถุมงคลที่นำมาใช้เทเหรียญหล่อเงินนั้นสูงมากเมื่อเทียบกับจำนวนเหรียญที่ได้ แต่นี่คือความใจถึงของผู้สร้าง โดยเฉพาะเหรียญนี้ไม่ได้ออกจำหน่าย แต่แจกให้กรรมการที่ร่วมทุนสร้างพระชุดนี้

เมื่อบวกลบคูณหารแล้วจะพบว่าต้นทุนที่ลงไปกับเหรียญเงิน 9 เหรียญนี้สูงถึงแสนกว่า ๆ เล็กน้อย เมื่อเฉลี่ยแล้วจึงประมาณการได้ว่าต้นทุนถึงเหรียญละ 12,000 บาท ถ้าทำโดยใช้เนื้อเงินธรรมดาตกเหรียญละ 700-800 เท่านั้น

และเมื่อพิจารณาถึงคุณค่าแล้วต้องบอกว่ายอดเยี่ยม เมื่อเนื้อหาเบื้องต้นดี ก็เปรียบเหมือนผืนนาที่อุดมสมบูรณ์ ย่อมได้ผลผลิตที่ดีเยี่ยม 

เหรียญเนื้อเงินหลังเรียบ

เมื่อเหรียญหลังหนังสือมีจำนวนน้อยมาก แต่มีคนอยากได้เยอะจึงขออนุญาตสร้างเพิ่ม แต่จะทำด้วยรายละเอียดที่แตกต่างออกไป จึงได้ทำเป็นหลังเรียบและใช้วิธีจารอักขระโดยหลวงพี่สุรฤทธิ์ ธมมทินโน ในการนี้ใช้เงินธรรมดาและผสมวัตถุมงคลลงไปดังนี้

– เหรียญเงินหลังหนังสือที่ชำรุดหนึ่งเหรียญ

– ตะกรุดเงินหลวงพ่อทองหยิบ วัดบ้านกลาง ขนาด นิ้ว

– ตะกรุดเงินหลวงพ่อรวย วัดตะโก ขนาด นิ้ว

– ตะกรุดเงินอาจารย์ทวี ขนาด นิ้ว

– เหรียญเงินอาจารย์ทวี 12 เหรียญ

เทได้ทั้งหมด 17 เหรียญ มีนำหนักประมณเหรียญละ 14 – 15 กรัม ส่วนเหรียญหลังหนังสือมีนำหนักประมาณเหรียญละ 25 – 27 กรัมเหรียญนี้ก็เป็นเหรียญที่ทรงคุณค่าสูงอีกเหรียญหนึ่ง เพราะใส่วัตถุมงคลของเกจิอาจารย์ที่มีราคาสูงจำนวนไม่น้อย และทำแบบเนื้อเข้มข้นคือ ทำแค่เพียง 17 เหรียญ

เหรียญเนื้อนวะแก่ทอง

ความตั้งใจเดิมของผู้สร้างไม่คิดว่าจะทำเนื้อนวะ แต่เจ้าของโรงงานเสนอว่าเขามีเนื้อนวะชั้นดีจะขายให้ทำเหรียญเนื้อนวะในราคาไม่แพงมาก เขาอธิบายว่าเป็นเนื้อนวะที่ผู้สร้างพระจตุคามในช่วงที่กำลังแรงมาจ้างให้เขาทำ โดยมาผสมเนื้อกันที่โรงงาน ผู้สร้างได้นำทองคำมาใส่ต่อหน้าเขาในจำนวนที่มากเมื่อเทียบกับสัดส่วนของเนื้อที่ผสม ทางคุณณัทณเอกฯ จึงตกลงให้ทำโดยใช้เนื้อดังกล่าว เมื่อเทเหรียญออกมาแล้วได้เพีง 31 เหรียญเท่านั้น เจ้าของโรงงานบอกว่าเนื้อทั้งหมดมีเท่านี้ 

เมื่อผู้เขียนเห็นเหรียญครั้งแรกก็รู้ได้ทันทีว่าเนื้อนวะนี้ใส่ทองคำเยอะ เพราะเหรียญมีความเงามาก เพราะฉะนั้นเหรียญนี้จึงมีคุณค่าในเรื่องของส่วนผสมที่มีโลหะราคาสูงจำนวนมาก (ทองคำ)

เหรียญนวะแก่ทอง หน้า หลัง

เหรียญเนื้อวัตถุมงคลผสมชนวน ล้วน ๆ (เนื้อพิเศษ)

เป็นความตั้งใจของผู้สร้างที่ต้องการจะทำเนื้อที่มีมวลสารพิเศษคือใช้วัตถุมงคลและชนวนศักดิ์สิทธิ์ของเกจิอาจารยต่าง ๆ ล้วน ๆ โดยไม่ใช้เนื้อของโรงงานเลย เมื่อรวบรวมได้มากพอสมควรแล้วจึงนำไปเทที่โรงงานโดยควบคุมการเทอย่างใหล้ชิด ได้เหรียญมาทั้งหมดจำนวน 123 เหรียญ

วัตถุมงคลและชนวนต่าง ๆ ที่นำมาผสมในการเทเหรียญเนื้อพิเศษ

– ตะกรุดมหาจักรพรรดิ หลวงพ่อรวย วัดตะโก 5 ดอก

– ตะกรุดตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

– แหวนหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา 2 วง

– ตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ

– ตะกรุดโชคลาภ หลวงปู่คำบุ

– ตะกรุดสามกษัตริย์ หลวงพ่อทองหยิบ อ่างทอง

– ตะกรุดหลวงปู่พวง วัดสหกรณ์รังสรรค์

– ตะกรุดหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่

– ตะกรุดกระทิงโทน ครูบาขันแก้ว

– ตะกรุดหลวงพ่อเชียร วัดสลักเหนือ

– พระขรรค์เทพนิมิต หลวงพ่อประดิษฐ์ วัดคลองลุ จ.ตรัง เล็ก องค์ ใหญ่ องค์

– เหรียญหล่อหลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม 40 เหรียญ

– พญาฉัตรทัน จ. ประจวบ

– แหนบมงกุฎเพ็ชร หลวงปู่ฤๅษีลิงดำ

– แผ่นยันต์ตุ๊กตา อาจารย์เอราวัณ อุทธยานธรรมโกศล

– สตางค์ทองหลวงพ่อเนื่อง

– สตางค์ทองหลวงปู่ดู่

– ชนวนพระกริ่งภัทริโย หลวงพ่อภัทร วัดโคกสูง

– ชนวนพระปิดตาคันฉ่องสองจักรพรรดิ์(ชิ้นใหญ่)

– ชนวนพระประธานทองทิพย์ เจ้าคุณศรีสนธิ์ วัดสุทัศนเทพวราราม

– ชนวนพระบูชานาคปรก พระโพธิสัตว์พังพระกาฬ 7 เศียร รุ่นแรก ปี 2532

– ขันลงหินขนาดปากกว้าง นิ้ว 2 ใบ

ภาพวัตถุมงคลและชนวนต่าง ๆ

เหรียญเนื้อโลหะผสม

เนื้อโลหะผสมแบบช่อ

4.2 ล็อคเก็ตรุ่น 3

สร้างโดยใช้รูปหลวงปู่สิงห์นั่งสมาธิเต็มองค์ที่ท่านอนุญาตให้ถ่ายเป็นครั้งแรก ก่อนหน้าที่จะได้รูปนี้คุณณัทณเอกฯ ได้บอกให้ภรรยาถ่ายรูปหลวงปู่หลาย ๆ ภาพ โดยเฉพาะหน้าตรง แต่ภรรยาคุณณัทณเอกกดชัตเตอร์ไม่ลง พยายามกดอยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่สามารถจะถ่ายได้ หลวงพี่สุรฤทธิ์ จึงต้องบอกกล่าวขออนุญาตหลวงปู่ หลวงปู่จึงกลับเข้ากุฎิครองจีวรออกมาใหม่ และอนุญาตให้ถ่ายได้ รูปที่ได้ออกมานี้เป็นรูปที่สวยงาม แสดงออกถึงบารมีและพลังอำนาจของหลวงปู่อย่างเห็นได้ชัดสัมผัสได้ ผู้ที่มีพลังจิตสื่อได้จะสัมผัสได้ทันที

จำนวนการสร้าง

พิมพ์จัมโบ้ฉากขาว                       1    องค์

พิมพ์จัมโบ้ฉากทอง                     21     “

พิมพ์เล็กฉากขาวมีโค้ด              150     “

พิมพ์เล็กฉากขาวไม่มีโค้ด          100     “

พิมพ์เล็กฉากฟ้าไม่ม่โค้ด           100      “

พิมพ์เล็กฉากทองไม่มีโค้ด           31      “

ขนาดจัมโบ้ กว้าง 4.5 ซ.ม. สูง 5.4 ซ.ม.

ขนาดเล็ก กว้าง 2.5 ซ.ม. สูง 3.4 ซ.ม.

ด้านหลัง ล็อคเก็ตขนาดจัมโบ้จะตอกโค้ดและหมายเลข ส่วนขนาดเล็กจะตอกโค้ดอย่างเดียว

สำหรับมวลสารหลักที่นำมาอุดที่ด้านหลัง ที่เป็นผงหลักก็คือข้าวสารเสกของหลวงปู่ฤๅษีลิงดำ

และประกอบไปด้วยวัตถุมงคลที่นำมากดติดลงไปคือ

1. ลอกเก็ตที่ไม่ได้ตอกโค้ด คือล็อคเก็ตที่บรรจุผงโดยทางวัด ประกอบไปด้วยผงดังนี้

– รังต่อที่ทำบนต้นสัก

– เกศาหลวงปู่

– ผงยาจินดามณีหลวงพ่อเปิ่น

– ดิน ท่า

– ดิน ป่าช้า

– ดินโป่ง โป่ง

– ไคลเจดีย์

– ไคลเสมา

– ดินสังเวชนียสถาน 4

– ใบโพธิจากต้นศรีมหาโพธิ์

– ดอกไม้บูชาสังเวชนียสถาน 4

– ชายจีวรหลวงปู่

– พลอยเสกหลวงปู่หมุน

– เหล็กไหลฤๅษี

2. ล็อคเก็ตที่ตอกโค้ดทั้งพิมพ์เล็ก และพิมพ์จัมโบ้ อุดผงโดยผู้สร้าง ประกอบไปด้วย

– ข้าวสารเสกของหลวงปู่ฤๅษีลิงดำ

– ผงหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค

– ผงหลวงพ่อสละ วัดประดู่ทรงธรรม

– ผงหลวงพ่อวงศ์ วัดปริวาส

– ผงครูบาชุ่ม

– ทรายเสกหลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย

– ผงลบโดยหลวงพ่อเสาร์ วัดกุดเวียง

– พระสังกัจจายน์หลวงพ่อกวย เนื้อดิน

– ผงครูบาขันแก้ว

นอกจากนี้ยังมีวัตถุมงคลของเกจิอาจารย์ต่าง ๆ ที่นำมาบรรจุพร้อมกับผงได้แก่

– พระธาตุข้าวบิณฑ์ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม

– ปรกใบมะขามเนื้อผงหลวงพ่อเกษม วัดพลับพลาชัย ปี 2517

– กิมบ่อเซี้ยง

– ปฐวีธาตุหลวงปู่คำพันธ์ (ใส่เฉพาะพิมพ์จัมโบ้)

– ตะกรุดเงินหลวงพ่อมหาโส ขอนแก่น (ใส่เฉพาะพิมพ์จัมโบ้)

ล็อคเก็ตพิมพ์เล็กฉากขาว บรรจุด้านหลังโดยวัด

ล็อคเก็ตพิมพ์เล็กฉากทอง บรรจุด้านหลังโดยวัด

ล็อคเก็ตพิมพ์เล็กฉากสีฟ้า บรรจุด้านหลังโดยวัด

ล็อคเก็ตทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก ทั้งที่บรรจุด้านหลังโดยผู้สร้างและโดยวัด แต่ละองค์ก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่จะหยิบวัตถุมงคลอะไรใส่ลงไปบ้าง แต่ผงนั้นจะเหมือนกันทุกองค์แยกตามผู้บรรจุ

4.3 รูปเหมือนหล่อรุ่นแรก

เป็นการสร้างต่อเนื่องมาจากเหรียญหล่อรุ่นแรก เมื่อเหรียญหล่อรุ่นแรกได้ออกให้บูชา ก็ดำเนินการสร้างต่อในทันทีและเสร็จเรียบร้อยออกให้บูชาในกลางเดือนมกราคม 2557

จำนวนการสร้าง

เนื้อทองคำ                                       9            องค์

เนื้อเงินชนวนวัตถุมงคลล้วน ๆ         12            องค์

เนื้อเงิน                                           85           องค์

เนื้อนวะ                                           38           องค์

เนื้อชนวน                                      101           องค์

เนื้อโลหะผสม                                2,557         องค์

แบบเป็นช่อจำนวน 13 ช่อ ๆ ละ              9         องค์

ขนาด หน้าตัก 1.5 ซ.ม.

ความสูง 2.5 ซ.ม.

พระทุกองค์เจาะก้นเป็นรูแล้วอุดผง เป็นผงแบบเดียวกับที่อุดล็อคเก็ตแบบไม่มีโค้ด แต่ยังมีของพิเศษที่เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งอย่างก็คือ ข้าวก้นบาตรของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล ที่หลวงปู่สิงห์ท่านเก็บเอาไว้นานแล้ว จนปัจจุบันนี้มีสภาพคล้ายกับหิน

เนื้อทองคำ

เนื้อเงิน

เนื้อเงินชนวนวัตถุมงคลล้วน ๆ ตอกเลข 1-12 และคำว่า กก (กรรมการ) 

สำหรับองค์กรรมการ 12 องค์นี้ได้ใส่เหรียญหล่อเนื้อชนวนที่หล่อไม่เต็มลงไปจำนวน เหรียญ (อีกหนึ่งเหรียญใส่เหรียญหล่อเนื้อเงินหลังเรียบ) และแท่นชนวนของเหรียญหล่อเนื้อเงินหลังหนังสืออีก ชิ้น นอกจากนี้ยังผสมวัตถุมงคลลงไปอีก อย่างคือ

– ตะกรุดเงินหลวงพ่อทองหยิบ วัดบ้านกลาง 1 ดอก

– ตะกรุดเงินหลวงพ่อรวย (ขนาดใหญ่) 1 ดอก

– แผ่นเงินลงยันต์ขนาดใหญ่หลวงพ่อทวี 1 แผ่น 

มีรายละเอียดเพิ่มเติมเนื่องจากผู้สร้างได้พบข้อมูลที่บันทึกไว้ และได้แจ้งให้ผู้เขียนทราบเมื่อวันที่ 28 ก.ค.57 เกี่ยวกับวัตถุมงคลที่ใส่ลงในรูปหล่อเนื้อเงินชนวนวัตถุมงคลล้วน ๆ มีเพิ่มขึ้นคือ

– เหรียญเงินหลวงพ่อทวี 11 เหรียญ

เหรียญเงินหลังหนุมาณชนวนพิเศษหลวงพ่อทองวัดลำกระดาน 1 เหรียญ

นอกจากนี้ยังมีเรื่องจำนวนการสร้างที่ถูกต้อง คือ จำนวนที่แก้ไขแล้วตามข้างบน

เนื้อชนวนและวัตถุมงคลทั้งหมดเทรูปหล่อจำนวน 12 องค์ จึงมีเนื้อหาที่เข้มข้นมาก เพราะเป็นเนื้อวัตถุมงคลล้วน ๆ

เนื้อนวะ

เนื้อชนวน 

เป็นเนื้อพิเศษที่ผสมชนวนของเหรียญหล่อรุ่นแรกเนื้อชนวน

นอกจากชนวนของเหรียญหล่อเนื้อชนวนแล้ว ยังได้เติมวัตถุมงคลของเกจิอาจารย์ต่าง ๆ ลงไปอีก คือ

เนื้อโลหะผสม

เนื้อโลหะผสมได้แยกออกมาจำนวน องค์ ตอกคำว่า กก หรือกรรมการและตอกหมายเลข 1 -9

รูปหล่อช่อ

ในการสร้างพระรุ่นนี้ ได้มีการสร้างวัตถุมงคลเพิ่มเข้ามาอีก แบบ คือ

1. ล็อคเก็ต

เป็นล็อคเก็ตรูปแบบเดิมแต่มีขนาดที่แตกต่างออกไปคือ

กว้าง      3 ซ.ม.

สูง          4 ซ.ม.

จำนวนการสร้าง 100 อัน

มีฉากเป็นสีทองทั้งหมด ตอกโค้ดตอกหมายเลข

2. พระสังกัจจายน์

สร้างขึ้น แบบ คือ 

แบบบูชาขนาดหน้าตัก นิ้ว 

จำนวนการสร้าง เนื้อทองเหลือง               110        องค์

เนื้อนวะพิเศษ                                              5        องค์

ขอค้างเรื่องรูปไว้ก่อนครับ

แบบพระเครื่องขนาดหน้าตัก ซม.

เนื้อเงิน                                                      196     องค์

เนื้อชนวนพิเศษ                                            31     องค์

เนื้อโลหะผสม                                          1,000    องค์

เนื้อเงิน                                                       196    องค์

ชนวน                                                           31    องค์

เนื้อโลหะผสม 1,000 องค์

องค์ต้นแบบ 

ความเห็น 

ผู้เขียนขอออกความเห็นเรื่องของเหรียญหล่อ และรูปเหมือนหล่อ ก่อนที่จะเสนอเรื่องต่อไป คือ พระทั้งสองรุ่นนี้ปั้นองค์หลวงปู่ได้เหมือนกับตัวจริงขององค์ท่านมาก เหมือนทั้งกายภาพและการแสดงออกของความรู้สึกของหลวงปู่ ซึ่งกรณีนี้จะทำให้พระ 2 แบบนี้แสดงความเป็นตัวแทนของหลวงปู่อย่างแท้จริง ต้องยอมรับว่าช่างปั้นเก่งมาก สามารถย่อขนาดจนเล็กมากแล้วทำได้เหมือนองค์จริง

         องค์ต้นแบบเหรียญหล่อ                                องค์ต้นแบบรูปหล่อ

5.เครื่องรางของขลัง

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น หลวงปู่ท่านจะแจกเครื่องรางของขลังให้กับลูกศิษย์ โดยเฉพาะในระยะแรก ๆ ที่ท่านไม่อนุญาตให้สร้างวัตถุมงคล ซึ่งเครื่องรางของขลังนั้นจะทำด้วยมือ จึงทำได้ครั้งละไม่มากนัก บางครั้งจึงไม่มีของแจกให้ผู้ที่ไปกราบไหว้ท่าน คุณบุญญฤทธิ์ คำหาญ หรือ คุณบอย สำโรงทาบ เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ครั้งหนึ่งเขาพาเพื่อนไปกราบท่าน ด้วยเหตุที่เพื่อนจะเดินทางไปเมืองนอก จึงกราบเรียนขอวัตถุมบงคลจากท่าน ปรากฎว่าท่านไม่มีอะไรจะแจก ท่านหันไปหันมาแล้วหยิบถุงพลาสติ(ถุงกรอบแกรบ) ขึ้นมาขมวดแล้วเสกเป่า จากนั้นจึงมอบให้เพื่อนของเขา ๆ เชื่อมั่นศรัทธามากยังเก็บไว้บูชาจนกระทั่งบัดนี้

เครื่องรางของฃลังที่ท่านทำมีไม่กี่แบบ ที่เป็นหลัก ๆ ก็มีอยู่ อย่าง คือ

1. ตะกรุด

2. ผ้ายันต์

3. ปลัดขิก

ตะกรุด 

ในระยะแรก ๆ ท่านจะเขียนเอง แต่ในระยะหลัง ๆ ท่านได้ให้ลูกศิษย์ช่วยเขียนแล้วท่านปลุกเสกให้ ทำครั้งละไม่มากเพื่อแจกให้กับผู้ที่มาทำบุญบ้าง มาทอดกฐินบ้าง บางครั้งก็มีชาวบ้านนำแผ่นโลหะมาขอให้ท่านทำให้บ้าง

ตะกรุดยุคแรกที่หลวงปู่ทำแล้วมอบให้คุณปาน ซึ่งเป็นผู้ดูแลรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 สมัยหลวงปู่อยู่ที่วัดบ้านดงถาวร

ตะกรุดคู่ชุดนี้หลวงปู่ทำเมื่อสมัยอยู่วัดโพธิ์ศรีธาตุ ก่อนจะย้ายมาอยู่วัดโบสถ์ นับเวลาได้ประมาณ 30 ปีเศษ ๆ คุณปานใช้ติดตัวมาตั้งแต่สมัยนั้น เมื่อวันที่ กรกฏาคม 2557 ผู้เขียนไปร่วมงานทำบุญวันเกิดย้อนหลังของหลวงปู่ที่วัดสีหะลำดวน ขณะที่ผู้เขียนกำลังจะกลับ คุณปานได้เดินมาส่งที่รถแล้วถอดตะกรุดชุดนี้ออกจากคอส่งมอบให้กับผู้เขียน คุณกอลฟ์บุตรชายของคุณปานถึงกับตกใจ บอกกับผู้เขียนว่า ตะกรุดนี้มีแต่คนอยากได้ ไม่ว่าใครจะขออย่างไรพ่อก็ไม่เคยยอมถอดให้ ผู้เขียนจึงต้องขอขอบคุณคุณปานไว้นะโอกาสนี้

ตะกรุดโทน กษัตริย์ที่หลวงปู่มอบให้คุณปานไว้หลายปีแล้ว คุณปานได้มอบให้กับผู้เขียนมาพร้อมกับตะกรุดชุดข้างบน

ปกติคุณปานกับครอบครัวจะไม่เคยขออะไรจากหลวงปู่ วัตถุมงคลของหลวงปู่ที่ได้ หลวงปู่จะมอบให้เองเพราะหลวงปู่เมตตาและเป็นห่วงครอบครัวของคุณปานมาก

ตะกรุดลูกอมที่ทำไว้ให้ผู้ที่ต้องการอยากได้วัตถุมงคลที่ปลุกเสกโดยหลวงปู่ไว้บูชา

ผ้ายันต์ 

รุ่นนี้ เป็นผ้ายันต์พิมพ์ ออกที่วัดสีหะลำดวนพร้อมเหรียญ จำนวนสร้าง 500 ผืน

ปลัดขิก

เป็นเครื่องรางที่ท่านทำให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดมาก ๆ เท่านั้น และเป็นปลัดขิกที่ท่านแกะเอง คนทั่วไปไม่มีใครทราบว่าท่านสำเร็จวิชาปลัดขิก คิดแต่เพียงว่าท่านปลุกเสกได้ก็ทำมาให้ท่านปลุกเสกและนำไปใช้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจึงทำออกมาไม่มากนัก เพราะท่านเองก็จะบอกกับลูกศิษย์ว่าของแบบนี้คนเขาจะเอาไปบูชาเหรอ ทั้งนี้ก็เนื่องจากเป็นอวัยวะเพศชาย

เมื่อผู้เขียนทราบจากคุณบุญญฤทธ์ คำหาญ หรือ บอย สำโรงทาบ ว่าท่านให้ใช้ไม้อะไรทำ และคาถาที่ท่านใช้ปลุกเสกคืออะไร ผู้เขียนก็สรุปได้ทันทีว่านี่คือสุดยอดปลัดขิก อันเป็นต้นกำเนิดของปลัดขิกในประเทศไทย ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียด คงต้องขอเวลาท่านผู้อ่านย้อนกลับไปถึงที่มาของการนับถืออวัยวะเพศชายในแถบอินโดจีนกันก่อนนะครับ

แท้จริงแล้วการนับถือปลัดขิกก็สืบเนื่องมาจากการนับถือศิวลึงค์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นั่นเอง เมื่อมานับถือกันในกลุ่มศาสนาพุทธก็จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อใหม่ ถ้าไปใช้ชื่อเดียวกันก็จะกลายเป็นพวกฮินดูไป แต่ที่มานับถือกันในศาสนาพุทธนั้น เพิ่งเริ่มมาไม่นานนี่เอง แต่สำหรับศาสนาพราหมณ์นับถือกันมาหลายพันปีแล้วในประเทศอินเดีย และได้แพร่เข้ามาในเขตอินโดจีนก็นานมากอยู่เหมือนกัน ซึ่งเรื่องนี้ผู้เขียนคงต้องขอพื้นที่กลับไปในยุคประวัติศาสตร์กันก่อน

ตามหลักฐานที่เป็นบันทึกของจีน ในดินแดนแถบนี้เราพอรู้เรื่องราวที่ก่าสุดก็คือสมัยอาณาจักรฟูนัน ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่าอยู่ตรงไหน ถ้าไล่เรียงเหตุผลกันคงจะยาวมาก ผู้เขียนคงขอสรุปสั้น ๆ ตามความเชื่อของผู้เขียนว่าฟูนันก็คือเมืองศรีเทพ เพราะมีเหตุผลสนันสนุนมากที่สุด ถึงจะใช่หรือไม่ใช่ตรงนี้ก็อยู่ร่วมสมัยกับฟูนันแน่นอน และที่สำคัญก็คือมีความเกี่ยวข้องกับศิวะลึงค์ 

ตามบันทึกกล่าวว่าในยุคแรกของอาณาจักรฟูนันนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิศิวะเวท ตัวแทนของพระศิวะก็คือลึงค์ จึงมีการสร้างศิวลึงค์ขึ้นมากราบไหว้บูชากัน ในบันทึกกล่าวว่าพระเจ้าชัยวรมันของอาณาจักรฟูนันได้สร้างศิวลึงค์ขนาดใหญ่มากไว้บนยอดเขาโมตัน ก็ยังถกเถียงกันอยู่ว่าเขาโมตันอยู่ที่ไหน บ้างก็ว่าอยู่ในแคว้นจำปาศักดิ์ทางตอนใต้ของประเทศลาว บ้างก็ว่าอยู่แถว ๆ ภาคอีสานของเรา แต่ที่เราค้นพบศิวลึงค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ก็ถือว่าอยู่ใกล้เคียง

ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ผู้เขียนขอย้อนไปที่เมืองศรีเทพ เพราะที่นี่มีการนับถือศาสนาพรามหณ์สลับกับศาสนาพุทธตรงตามบันทึกที่เกี่ยวกับอาณาจักรฟูนัน ที่ศรีเทพมีการขุดพบทั้งศิวลึงค์ทั้งใหญ่และเล็ก ๆ จนถึงขนาดนิ้วก้อย ขุดพบพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีทั้งเนื้อสัมฤทธิ์และเนื้อทองคำ ปรากฎว่าพระพุทธรูปนั้นขุดได้นอกกำแพงเมือง สันนิษฐานกันว่า เมื่อพราหมณ์หรือฮินดูกลับมายึดคืนจากชาวพุทธได้ก็โยนพระพุทธรูปออกนอกกำแพงเมือง

ที่จริงยังมีเรื่องราวอีกมาก ถ้าจะเล่าไปก็เกรงว่าจะยืดยาว ขอย่นมาในยุคอาณาจักรขอมตอนต้นที่พราหมณ์ได้ปรับปรุงใหม่กลายเป็นฮินดู และมีกษัตริย์ที่นับถือลัทธิไศวะนิกายกันหลายองค์ จึงมีการสร้างศิวลึงค์ไว้กราบไหว้บูชากันเป็นจำนวนมาก ผู้เขียนคิดว่า การสร้างสิวลึงค์ขึ้นมาบูชาก็ต้องมีพิธีกรรมบวงสรวงหรือการปลุกเสกเพื่อให้มีความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน ซึ่งคงต้องมีคาถาอาคมอยู่ด้วย

ทีนี้กลับมาที่เรื่องของอวัยวะเพศชาย ที่ถูกสร้างโดยเกจิอาจารย์ในศาสนาพุทธที่เรียกกันว่าปลัดขิก เรื่องนี้มีประวัติที่รับรู้กันได้ย้อนหลังไปไม่นานมากนัก คงแค่ร้อยกว่าปีหรืออาจจะนานกว่านั้นแต่ไม่มีเรื่องเล่าขานกันต่อ ๆ มา มาปรากฎเป็นเรื่องเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ของปลัดขิกที่เราพูดถึงกันก็ย้อนไปถึงสมัยของหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ที่กล่าวกันว่าท่านทำปลัดขิกได้ขลังนัก เพราะมีเรื่องเล่าว่า มีลูกสาวของคหบดีท่านหนึ่งพายเรือไปกับสาวใช้ เพื่อไปทำบุญกับหลวงพ่อเหลือ เมื่อทำบุญเสร็จแล้วหลวงพ่อเหลือไม่มีอะไรจะให้ ท่านจึงหยิบปลัดขิกที่ท่านทำไว้แจกมอบให้ไป สาวคนนั้นก็รับมาด้วยความตกใจ นึกในใจว่าพระอะไรพิเรนจังให้อะไรไม่ให้ ดันมาให้ไอ้จู๋ของผู้ชาย พอกลับมาถึงเรือ จึงโยนปลัดขิกทิ้งน้ำแล้วพายเรือกลับบ้านกับสาวใช้ พายไปได้ระยะหนึ่งก็ได้ยินเสียง จ๋อม ๆ ๆ ข้าง ๆ เรือ ตอนแรกก็คิดว่าปลากระโดด แต่พอชะโงกหน้าไปดู ปรากฎว่าปลัดขิกที่ทิ้งไปนั้น กระโดดตามเรือมาตลอดทาง

นอกจากนี้ก็ยังมีเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงทางด้านปลัดขิกอีกหลายองค์ แต่ก็ย้อนหลังไปไม่เกินหลวงพ่อเหลือ

เพราะฉะนั้นคติความเชื่อในเรื่องปลัดขิกก็คงจะเรียนแบบมาจากศิวลึงค์นั่นเอง เพียงแต่ระดับความสำคัญแตกต่างกัน ในฮินดูนั้นถือว่าศิวลึงค์เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่สูงสุดของพวกเขา แต่ปลัดขิกนั้นเป็นเพียงเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งเท่านั้น

กลับมาที่ปลัดขิกที่ปลุกเสกโดยหลวงปู่สิงห์ ซึ่งอยู่ในดินแดนที่นับถืออวัยวะเพศชายมาแต่โบราณ คุณบอย สำโรงทาบ ถามท่านว่าหลวงปู่ใช้คาถาอะไรปลุกเสก (คงอยากจะทดสอบว่าหลวงปู่ทำได้หรือเปล่า) หลวงปู่บอกว่าใช้คาถาหัวใจศิวลึงค์ เป็นคาถาโบราณ แล้วท่านก็ท่องให้ฟังว่า อึ มะ รอ ทอ มะ รอ ทอ อึ หลายคนได้ยินก็แปลกใจ เพราะไม่เคยได้ยินคาถานี้ ส่วนใหญ่คาถาปลัดขิกที่รู้กันแพร่หลายก็คือ กัณหะ เณหะ

นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ไม้ที่ใช้ทำปลัดขิก คุณบอยถามหลวงปู่ว่าจะใช้ไม้อะไรทำปลัดขิก หลวงปู่บอกว่าใช้ไม้หำปู่ คุณบอยรู้สึกงง ๆ เพราะไม่เคยได้ยินชื่อนี้ แต่ก็ไปสอบถามคนเก่าคนแก่ว่ารู้จักไม้หำปู่ไหม ปรากฎว่าไม่มีใครรู้จัก จนกระทั่งไปเจอคนแก่คนหนึ่งท่านบอกรู้จักและพาไปดู คุณบอยจึงได้ตัดมาแต่ปรากฎว่านำมาแกะไม่ได้เพราะไม้จะแตก หลวงปู่จึงบอกต้องนำไปแช่น้ำเกลือ ทำให้ไม้กลายเป็นเนื้อเหนียว และแกะได้สำเร็จ คุณบอยบอกว่าไม้นี้ออกลูกเหมือนกับไข่สองใบของอวัยวะเพศชาย และหลวงพี่สุรฤทธิ์บอกผู้เขียนว่า พระครูเจ้าอาวาสบอกว่าถ้าขุดลึกลงไปที่โคนต้นก็จะเจอไข่สองใบเช่นกัน ลักษณะเช่นนี้คงเป็นที่มาของชื่อไม้นั่นแหละ คำว่าหำก็เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าถ้าเป็นภาษาอีสานแปลว่า อวัยวะเพศชาย

เมื่อผู้เขียนได้ฟังก็สรุปได้ว่า นี่คือพญาปลัดขิก เป็นปลัดขิกที่สืบทอดมาแต่โบร่ำโบราณถือเป็นต้นกำเนิดของปลัดขิก อันเนื่องมาจากคาถาที่ใช้ก็เป็นของโบราณ ไม้ที่ใช้ก็เป็นไม้ที่เกิดมาเพื่อทำปลัดขิกโดยเฉพาะ ไม้หำปู่จึงเป็นเอกลักษณ์ของหลวงปู่สิงห์ในการทำปลัดขิก

ส่วนใหญ่หลวงพ่อที่ทำปลัดขิกมักจะมีไม้เฉพาะในการทำที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น หลวงพ่อฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ ใช้ไม้พญาดำดง หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ใช้ไม้คูณ หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน ใช้ไม้เขยตาย เป็นต้น

แต่หลวงพ่อทุกองค์ก็ยังใช้ไม้ที่เป็นมงคลมาทำปลัดฃิก นอกเหนือจากไม้ทีเป็นเอกลักษณ์เมื่อได้ไม้ดี ๆ มา หลวงปู่สิงห์ก็เช่นเดียวกันท่านก็ยังใช้ไม้อื่น ๆ ทำด้วย

ปลัดขิกไม้หำปู่

มีจำนวน 23 ตัว

ที่โคนหุ้มเงินยกลายเป็นหน้าสิงห์ ตอกโค้ด ตัวและตอกหมายเลข ๑-๒๓

ด้านบนเขียนคำว่าสิงห์ ๑ ด้านใต้ท้องเขียนคำว่า วัดโบสถ์

ที่มาของปลัดขิกชุดนี้

มาจากการสร้างปลัดขิกด้วยไม้หำปู่ โดยคุณบอย สำโรงทาบ เพื่อแจกให้กับกรรมการที่จองเหรียญหลวงปู่สิงห์รุ่นสอง ออกที่วัดสีหะลำดวน

สร้างขึ้นจำนวน 100 อัน มีขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน แต่ทั้งหมดเป็นขนาดที่พกพาได้ เมื่อผู้เขียนทราบจึงขอเหมาของที่เหลือจากคุณบอย และนำมาหุ้มที่โคนด้วยเงิน และตอกโค้ด จำนวนทั้งหมด 23 อัน เพื่อให้ของส่วนหนึ่งมีเอกลักษณ์ และป้องกันการปลอม เพราะนี่คือของดีพิเศษยิ่งของหลวงปู่ อย่างน้อยก็มีส่วนหนึ่งที่ดูได้ง่ายขึ้น ด้วยผู้เขียนคิดว่าในอนาคตจะต้องเป็นที่เสาะหากันอย่างแน่นอน เพราะขนาดที่ยังหุ้มเงินไม่เสร็จทั้งหมด ส่วนที่เสร็จแล้วถูกบูชาออกไปก็มีประสบการณ์แล้ว

สำหรับอันที่ไม่ได้หุ้มเงินก็ยังเล่นหากันได้ตามปกติ ถ้าใช้ความสังเกตุจดจำเอกลักษณ์ได้ และปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือให้บูชาจากคนที่เชื่อถือและไว้ใจได้ ถ้าจะหาก็รีบหากันเสียตั้งแต่ตอนนี้ เพราะคงยังไม่มีของปลอม แต่ต่อไปในอนาคตขอบอกได้เลยว่า มีแน่นอน

ปลัดขิกที่ทำด้วยไม้อื่น ๆ

มีไม้อาถรรพ์และไม้มงคลอีกหลายอย่างที่หลวงปู่ทำขึ้นมาและมีคนอื่นทำและนำมาให้ท่านปลุกเสก เมื่อได้ภาพมาผู้เขียนจะนำมาทะยอยลงให้ดู สำหรับตอนนี้ก็ขอเริ่มอันแรกก่อนเลยครับ

– ปลัดขิกไม้ขี้พระร่วง

ขอเริ่มที่ไม้ขี้พระร่วงก่อนครับ ไม้ขี้พระร่วงเป็นไม้ที่มีกลิ่นเหมือนขี้แห้ง ๆ พบได้ในเขมร หลวงปู่สิงห์ท่านบอกว่าไม้นี้เป็นไม้ที่สามารถป้องกันคุณไสยได้อย่างชงัด

ปลัดขิกอันนี้แกะจากไม้ขี้พระร่วงที่หลวงปู่ท่านพกไว้ที่เอวเป็นประจำ โดยเฉพาะเวลาท่านต้องเข้าไปพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพราะเมื่อเวลาป่วยมากกายกับจิตจะแยกจากกัน จึงต้องป้องกันคนมากระทำย่ำยีกับสังขารของท่าน ไม้นี้จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก เพราะท่านต้องปลุกเสกไว้อย่างดีแล้ว และเมื่อปลายปีที่ผ่านมาท่านได้มอบให้หลวงพี่สุรฤทธิ์ นำไปแกะปลัดขิกเพื่อให้ไปแบ่งกันใช้ หลวงพี่จึงให้พระอาจารย์แคช่วยแกะ ด้วยอารมณ์ศิลปินท่านจึงไปขออนุญาตหลวงปู่แกะจิ้งจกสองหางเกาะที่ปลัดขิกด้วย เมื่อแกะเสร็จได้อันหนึ่งจึงไปมอบให้หลวงพี่ไว้ และมือแกะก็ปิดกุฎิออกไปจากวัด ป่านนี้ยังไม่กลับมาเลย ไม้ที่เหลือก็คงต้องรอท่านกลับมา ส่วนอันนี้หลวงพี่นำไปให้หลวงปู่ปลุกเสกมา 5-6 ครั้งแล้ว 

ปลัดขิกและตะกรุดที่หลวงปู่แกะและจารเอง

เครื่องรางของขลังอื่น ๆ

– มีดหมอ

ขอติดค้างเรื่องรูปไว้ก่อนครับ

– ขอช้าง

6. พระกริ่งรุ่นแรก

กำหนดชื่อรุ่นว่า พระกริ่งธมฺมสาโร ลาภมาหา เป็นการนำเอาฉายาของหลวงปู่มาเป็นชื่อต้นแล้วตามด้วยลาภมาหา เพื่อเป็นสิ่งแสดงความหมายให้เกิดพุทธานุภาพตามชื่อว่า พระกริ่งหลวงปู่สิงห์ ธมฺมสาโร เมื่ออยู่กับใครจะนำลาภมาให้คน ๆ นั้น คำว่าลาภนี้มีความหมายครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต

วัตถุประสงค์ในการสร้าง เพื่อรวบรวมปัจจัยนำไปใช้ในการสร้างเจดีย์สำหรับบรรจุพระธาตุของครูบาอาจารย์หลายองค์ ตามจิตเจตนาและความประสงค์ของหลวงปู่ 

พุทธลักษณะ

เป็นการนำเอารูปแบบของพระกริ่งปวเรศมาเป็นต้นแบบ ด้วยการปั้นหุ่นขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีการถอดพิมพ์จากรุ่นใดรุ่นหนึ่ง และได้เพิ่มกำไลขึ้นที่ข้อพระกรข้างขวา เพื่อเป็นเคล็ดให้เกิดกำไรไม่ว่าจะทำมาค้าขายหรือการได้กำไรชีวิต

ขนาด ความสูง           4 ซ.ม.

ความกว้างที่ฐานบัว 2.2 ซ.ม.

พิธีกรรมในการสร้าง 

เป็นการสร้างตามแบบพิธีโบราณคือการเทดินไทย ทำพิธีในวันที่ มีนาคม 2557 ที่วัดโบสถ์ และเมื่อเทเสร็จได้ทำพิธีปลุกเสกต่อเนื่องไปเลย หลังจากอุดกริ่งเรียบร้อยได้กราบอาราธนาให้หลวงปู่ปลุกเสกอีกครั้งหนึ่งในวันที่ เมษายน 2557 

หลวงปู่ทำพิธีปลุกเสกหลังจากเทพระแล้ว

พระสงฆ์ลูกศิษย์หลวงปู่โปรยดอกไม้หลังพิธีปลุกเสก

เนื้อหามวลสารและจำนวนการสร้าง

ทางผู้ดำเนินการได้จัดทำแผ่นยันต์ตามตำรับการสร้างพระกริ่ง ลงยันต์โดยอาจารย์พิจารณ์ วัดโพธิ์ผักไห่ แล้วนำมาให้หลวงปู่สิงห์ปลุกเสกเพื่อเป็นชนวนพื้นฐานในการสร้างพระกริ่งให้ตรงตามตำราดั้งเดิม

ในการจัดสร้างครั้งนี้ผู้ดำเนินการมีความคิดว่าจะทำเนื้อพิเศษส่วนหนึ่ง คือผสมเหล็กน้ำพี้ลงไปด้วย แต่ติดขัดตรงที่ไม่มีความมั่นใจว่าจะได้เหล็กน้ำพี้แท้ ๆ จึงได้ปรึกษาคุณทวีสุข ปัญญาอรรถ พี่ทวีสุขจึงแนะนำว่าที่ผู้เขียนมี ผู้สร้างกับผู้เขียนจึงได้พบกัน

ผู้เขียนได้บอกไปว่า ถ้าใส่เป็นก้อน ๆ เหล็กไม่ละลาย เพราะเหล็กใช้ความร้อนสูงกว่าโลหะอื่น ๆ ที่นำมาเป็นส่วนผสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กน้ำพี้ที่มีความแข็งมาก(200 ร็อคเวลล์ แข็งกว่าเหล็กซามูไร เท่า) ยิ่งต้องใช้ความร้อนสูงมาก ถ้าต้องการใส่จริง ๆ ต้องตะไบให้เป็นผงแล้วโรยลงไป ผู้เขียนจึงให้มีดเล่มหนึ่งที่ผู้เขียนไปจ้างเขาตีไว้นานแล้ว เป็นเหล็กน้ำพี้แท้ ๆ แน่นอน พร้อมกับมอบก้อนแร่เหล็กน้ำพี้ที่มีเนื้อเหล็กเข้มข้นอีกหนึ่งก้อนให้ไปตำใส่ลงไป แร่ก้อนนี้เป็นก้อนหนึ่งในหลายก้อนที่ชาวบ้านนำมาขอให้หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง จังหวัดอุตรดิตถ์ท่านปลุกเสกและถวายท่านไว้ก้อนหนึ่ง พอดีหัวค่ำวันนั้นผู้เขียนไปกราบท่าน ๆ จึงหยิบให้ผู้เขียน

ผู้ดำเนินการ (คุณณัทณเอก) ชวนผู้เขียนไปร่วมงานด้วย ผู้เขียนเห็นว่าเขาจะทำเนื้อพิเศษจึงนำเอาวัตถุมงคลไปร่วมใส่เพิ่มเติมด้วย

ในวันเททองจึงแยกเบ้าหล่อมเป็น เบ้า คือเบ้าเล็ก และเบ้าใหญ่ โดยเบ้าเล็กจะเทเนื้อชนวนพิเศษและเบ้าใหญ่จะเทเนื้อนวะทั่วไปตามภาพข้างล่าง

ในการหลอมโลหะนั้นทางหลวงพี่สุรฤทธิ์ เลขาท่านเจ้าอาวาส ก็ได้เตรียมวัตถุมงคลของเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงสายอีสานจำนวนมาก วัตถุมงคลบางชิ้นราคาหลายหมื่น ท่านได้ใส่ลงในเบ้าเล็กก่อน เกจิที่มีซ้ำกันท่านจะแยกใส่เบ้าใหญ่บ้าง และที่สำคัญก็คือเหล็กน้ำพี้ได้ใส่ไปที่เบ้าเล็ก

เมื่อถึงเวลาเทนั้นผู้ออกทุนสร้างและผู้ดำเนินการมีกำหนดที่จะเทเนื้อพระที่ใส่ทองมากเป็นพิเศษ โดยเรียกชื่อว่าเนื้อนำฤกษ์ และเทจากเบ้าเล็ก เททั้งหมด ช่อ จากนั้นก็ตัดพระออกแล้วนำก้านชนวน ก้านไปใส่เบ้าเล็ก ที่เหลืออีก ก้านนำกลับไปใส่เบ้าใหญ่

พอถึงเวลาที่ก้านชนวนละลายแล้ว ผู้เขียนจึงนำวัตถุมงคลที่เตรียมไว้ใส่ลงไปเพื่อให้เป็นชุดที่มีเนื้อพิเศษขึ้น ตามแผนเดิมผู้ดำเนินการจะใส่เพียงเหล็กน้ำพี้อย่างเดียว ซึ่งผู้เขียนคิดว่าไม่พอ ผู้เขียนจึงเตรียมวัตถุมงคลที่ต้องการให้เกิดเคล็ดกับพระกริ่งชุดพิเศษนี้ใส่ลงไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. รูปหล่อหลวงพ่อ มี วัดมารวิชัย

2. เหรียญพัดยศหลวงปู่ แก้ว วัดช่องลม

3. รูปหล่อรุ่นพิเศษปี 2521 หลวงปู่ แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง

4. เหรียญหน้าวัวหลวงพ่อ เงิน วัดดอนยายหอม

5. รูปหล่อหลวงพ่อ ทอง วัดป่ากอ

6. เหรียญเฟื้อเนื้อทองแดง สตางค์ รัชกาลที่ 5

7. เหรียญบาทเนื้อเงิน สตางค์ รัชกาลที่ 5

8. เหรียญเจ้าคุณรุ่น 1 (สุรนคร) เนื้อเงิน หลวงพ่อ คูณ วัดบ้านไร่

9. เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว

10. พระปรกมะขามเนื้อเงินหลวงพ่อ สิริ วัดตาล

11. เหรียญฉลอง รอบพระอาจารย์ ไพบูลย์ วัดอนาลโย

12. พระกริ่งภัทริโย หลวงพ่อ ภัทร วัดโคกสูง

13. เหรียญรัตนะเนื้อเงินหลวงพ่อ ภัทร วัดโคกสูง

14. เหรียญรัตนะเนื้อนวะหลวงพ่อ ภัทร วัดโคกสูง 2 เหรียญ

15. ปรกมะขามเนื้อเงินหลวงพ่อ ภัทร วัดโคกสูง 3 องค์

16. ปรกมะขามเนื้อนวะหลวงพ่อ ภัทร วัดโคกสูง

17. เหรียญบารมี 81 หลวงพ่อ เกษม สำนักสุสานไตรลักษณ์

18. ตะกรุดเงินหลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง

19. เหรียญกฐินปี 36 เนื้อเงิน หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง

20. รูปหล่อท้าวเวสสุวรรณรุ่นสองเนื้อเงินอาจารย์อิฎฐ์ วัดจุฬามณี

21. ท้าวเวสสุวรรณใบมะขามรุ่นแรกอาจารย์อิฎฐ์ วัดจุฬามณี 5 องค์

22. ท่าวเวสสุวรรณใบมะขามรุ่นสองอาจารย์อิฎฐ์ วัดจุฬามณี 5 องค์

23. เหรียญหลวงปู่ทวดเนื้อทองแดงรุ่น วัดช้างให้

24. เหรียญแสตมป์นาคราชจตุคามรามเทพ ปี 2532

25. พระปิดตาพังพระกาฬรุ่นเกาะเภตราพิมพ์เล็กเนื้อนวะ

26. พระปิดตาพังพระกาฬรุ่นคันฉ่องสองจักรพรรดิ์พิมพ์เล็กเนื้อคันฉ่อง

27. ชนวนพระบูชาเจ็ดเศียรรุ่นแรกองค์จตุคามรามเทพปี 2532

28. เหรียญยี่กอฮง รุ่น บ่วงสื่อเฮง

เมื่ออ่านตามลำดับของวัตถุมงคลที่ผู้เขียนใส่ลงไปก็จะเป็นดังนี้ครับ มีแก้วแหวนเงินทองสตางค์(เงินตราที่ใช้) คูณให้เพิ่มขึ้น รวมทั้งหมด(สิริ)แล้วเต็มเปี่ยมหรือเต็มที่ (ไพบูลย์) ก็เกิดเป็นมงคล ความดีความงาม (ภัทร) ทำให้มีความสุขความปลอดภัย (เกษม) คำแปลชื่อเกจิอาจารย์ต่าง ๆ นี้ผู้เขียนแปลตรงตัวตามพจนานุกรมเลยครับ

นอกจากนี้ยังใส่วัตถุมงคลอื่น ๆ ที่มีอิทธิฤทธิและบารมีเพิ่มลงไปอีก ชิ้นแรกก็คือตะกรุดเงินของหลวงปู่ทองดำที่ท่านจารให้ผู้เขียนเองกับมือเป็นดอกสุดท้าย เพราะหลังจากนั้นจะเป็นพระองค์อื่น ๆ จารแล้วให้ท่านปลุกเสก รวมเหรีญยกฐินปี 2536 เนื้อเงินอีก เหรียญ

ต่อมาก็คือองค์ท่านท้าวเวสสุวรรณที่ปลุกเสกโดยท่านอาจารย์อิฏฐ์ แห่งวัดจุฬามณี ซึ่งเป็นตัวแทนและสื่อถึงองค์ท่านท้าวเวสสุวรรณ องค์ท่านพ่อท้าวเวสสุวรรณภาคหนึ่งท่านก็คือผู้กุมบัญชีชีวิตมนุษย์ เป็นที่ยำเกรงของบรรดาภูตผีปีศาจ อีกภาคหนึ่งของท่านก็คือท้าวกุเวร ผู้มั่งคั่งและร่ำรวยที่สุดในโลก จำนวนที่ใส่ลงไปถึง 11 องค์

ต่อมาก็คือเหรียญหลวงปู่ทวดรุ่น ที่ผู้เขียนเก็บมาหลายสิบปีแล้ว เห็นว่าท่านคือองค์พระโพธิสัตว์ที่มีบารมียิ่งใหญ่ ช่วยเหลือผู้คนในด้านแคล้วคลาดปลอดภัยและการดำเนินชีวิตในทุกด้าน เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง

เหรียญแสตมป์นาคราชจตุคามรามเทพปี 2532 ท่านก็คือพระโพธิสัตว์ผู้มีบารมียิ่งใหญอีกองค์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ที่ผู้เขียนเลือกพิมพ์นาคราช เนื่องจากเห็นว่าเป็นนาคผู้ยิ่งใหญ่ก็คือนาคราชานั่นเอง และเกจิอาจารย์ภาคอีสานท่านบอกว่า ในช่วงกึ่งพุทธกาลนาคจะให้คุณกับประชาชนและประเทศชาตินี้เป็นอย่างมาก

ลำดับต่อมาคือพระปิดตาพังพระกาฬรุ่นเกาะเภตราที่ปลุกเสกโดยองค์ท่านพ่อจตุคามรามเทพ เป็นวัตถุมงคลที่ผ่านการใช้และมีประสบการณ์มาแล้วอย่างโชกโชนในเรื่องการค้าขาย องค์ท่านพ่อจตุคามได้บันดาลให้มีคุณทางด้านค้าขายตามสถานที่ที่นำไปปลุกเสกคือเกาะเภตรา ซึ่งมีรูปร่างคล้ายเรือ เปรียบเสมือนเรือสำเภาที่ใช้ในการค้าขายในสมัยโบราณถัดมาอีกก็คือพระปิดตาพังพระกาฬรุ่นคันฉ่องสองจักรพรรดิ์ เป็นพระปิดตาที่ใส่คันฉ่องสำริดจีน มีอานุภาพครอบคลุมทุกด้านทั้งการค้าขาย การป้องกันภูติผีปีศาจ มีอำนาจบารมีผ่านไปได้ในทุกที่

ชนวนพระบูชาโพธิสัตว์พังพระกาฬนาคปรก เศียร รุ่นแรกปลุกเสกโดยองค์จตุคามรามเทพ เป็นพระบูชาที่มีอิทธิฤทธิ์สูงส่งที่เคยใช้ห้ามพายุเก ในสายของผู้ที่เคารพศรัทธาองค์จตุคามรามเทพ เพียงแค่ได้ชิ้นเล็ก ๆ ชิ้นเดียวก็นำไปเลี่ยมทองมาแขวนกันแล้ว

สุดท้ายก็คือ เหรียญยี่กอฮง ผู้เขียนเริ่มต้นเลือกตั้งแต่ชื่อคือรุ่น บ่วงสื่อเฮง เป็นภาษาจีนที่แปลว่า เฮงหมื่นเรื่อง ปลุกเสกโดยท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช และที่สำคัญที่ผู้เขียนต้องการเคล็ดก็คือ ตัวท่านยี่กอฮง เพราะท่านมีฉายาว่า เจ้าพ่อหวย ที่ผ่านมาผู้ที่ชอบเสี่ยงโชค เมื่อได้บูชาท่านแล้วก็มักจะได้อานิสงค์อยู่เสมอ เรื่องนี้ผู้เขียนเห็นว่าเราไม่อาจมองข้ามไปได้ เพราะการเสี่ยงโชคในด้านต่าง ๆ แทบจะเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ไปแล้ว การได้ลุ้นเป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างความคึกคักให้กับจิตใจ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับโอกาสที่เอื้ออำนวยหรือเป็นบางเวลาอย่าไปหมกมุ่น ที่ผู้เขียนได้นำมาเพิ่มเคล็ดนี้ก็เพื่อให้พระกริ่งชุดนี้มีอิทธิฤทธิ์ครบเครื่อง ตัวผู้เขียนเองก็เคยได้พบกับอิทธิฤทธิ์ของเหรียญยี่กอฮงมาแล้ว

ผู้เขียนคิดว่าวัตถุมงคลที่ใส่ลงในพระกริ่งชุดเนื้อชนวนพิเศษนี้มีความหมาย ผู้เขียนเองเชื่อเรื่องเคล็ดในการทำวัตถุมงคล เพราะได้รับรู้และเห็นมามากพอสมควร

เมื่อได้รับการปลุกเสกจากพระอริยะสงฆ์ผู้มีพลังจิตสูงและกล้าแข็งอย่างหลวงปู่สิงห์ พระกริ่งชุดนี้จึงไม่ธรรมดา

ภาพวัตถุมงคลตามรายการดังกล่าวที่ใส่ลงในพระกริ่งเนื้อชนวนพิเศษ ผสมเหล็กน้ำพี้

ขั้นตอนการเทดินไทย

หุ่นเทียน

ขี้วัวที่ใช้ชุบหุ่นเทียน

หุ่นเทียนที่เตรียมเข้าดินไทย

ทองที่ชาวบ้านนำมาร่วมใส่เบ้าหลอมในการเทพระกริ่ง

จำนวนการสร้าง

เนื้อทองคำ                               19   องค์

เนื้อนวะแก่ทองนำฤกษ์            140   องค์

เนื้อนวะชนวนพิเศษ                 399   องค์

เนื้อนวะ                                3,000   องค์

เนื้อทองคำหล่อโดยใช้วิธีเหวี่ยง

นอกจากนี้ยังมีพระกริ่งตัวอย่างหรือที่เรียกว่าลองพิมพ์อีก เนื้อ คือ

เนื้อเงิน จำนวน 2 องค์ ใช้วิธีเหวี่ยง

เนื้อทองแดง จำนวน 47 องค์ เทแบบดินไทย

ที่พิเศษคือเนื้อเงิน องค์นี้ เป็นเนื้อวัตถุมงคลจำนวน ชิ้นผสมกับเงินเม็ดอีกหนึ่งช้อนพูน ๆ

– เหรียญเงินรุ่นแรกของหลวงปู่สิงห์

– รูปหล่อรุ่นแรกของหลวงปู่สิงห์

เหรียญยันต์ตะกรุดเม วัดท่าซุง

พระสังกัจจายย์เนื้อเงิน หลวงปู่สิงห์

ตามภาพ เนื้อเงินลองพิมพ์ องค์ ตัดก้านชนวน องค์ ติดก้านชนวน องค์ เนื้อทองคำลองพิมพ์ และนำไปรวมอยู่ในจำนวน 19 องค์ อีกหนึ่งองค์คือเนื้อนวะองค์ต้นแบบ

ต่อมาได้ตัดพระกริ่งเนื้อเงินออกจากก้านชนวน ทำให้มีพระกริ่งเนื้อเงินเป็น องค์ และนำไปบรรจุเม็ดกริ่ง โดยเม็ดกริ่งนั้นเป็นเม็ดโลหะที่แกะออกมาจากใต้ฐานพระพระพุทโธจอมมุนี พระประธานองค์ใหญ่ของวัดสารนารถ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง (ผู้ที่มอบให้คือ คุณทวีสุข ปัญญาอรรถ เซียนพระสายตรงคุณแม่บุญเรือน)

พระกริ่งทั้งหมดทางผู้สร้างตอกโค้ดด้วยอักขระขอมคือ ตัว นะ และ ฤ พร้อมกับตอกหมายเลขเรียงลำดับแยกตามเนื้อต่าง ๆ

ขอติดค้างเรื่องรูปไว้ก่อนครับ

ส่วนพระกริ่งที่ทางวัดได้รับ ได้นำมาปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้โค้ดชัดเจนขึ้นและฐานอยู่ในสัดส่วนที่สวยงามขี้น โดยการหุ้มก้นและทั้งตอกหมายเลขใหม่หมด

ในการหุ้มก้นนั้นได้มีการบรรจุเกศาของหลวงปู่สิงห์ และผงรังต่อที่เกาะต้นสักเพื่อให้ได้เคล็ดหลายประการเพราะรังต่อนี้โบราณถือกันว่าเป็นการต่อเพิ่มขึ้นหรือการต่อยอด รังต่อนี้หลวงปู่ปลุกเสกอยู่ในกุฏิมาเป็นเวลานานถึง 5-6 ปี จึงทำให้เกิดพลังที่จะต่อยอดเพิ่มขึ้น คือ

– เป็นการต่อยศถาบรรดาศักดิ์ศักดิ์ (เพราะมาจากต้นสัก)

– เป็นการต่อเงินต่อทอง

– ที่สำคัญคือผู้เขียนเชื่อมั่นว่า เป็นการต่อโชคต่อลาภตามชื่อของพระกริ่ง

และการบรรจุเกศาของหลวงปูด้วยนั้น ถือได้ว่าหลวงปู่ท่านได้เข้าไปสถิตย์ในองค์พระกริ่งทั้งทางกายภาพ และพลังจิตที่มีอานุภาพแรงดุจสายฟ้า ต่อไปในอนาคตเกศานี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ครอบครองพระกริ่งรุ่นนี้หวงแหนเป็นที่สุดเอกลักษณ์ของพระกริ่งชุดของทางวัดจึงอยู่ที่เมื่อเขย่าก็ดังกังวานแบบพรกริ่งทั่วไป แต่มีการอุดผงและเกศาอยู่ด้วย เพราะโดยทั่งไปการอุดก้นด้วยผงมักจะไม่มีกริ่ง

ดังกล่าวมาข้างต้น ต้องขอบอกว่า นี่คือสุดยอดพระกริ่งอีกรุ่นหนึ่งในวงการ

ส่วนของวัดที่ได้นำมาหุ้มก้นมีรายละเอียดดังนี้

1. ชุดกรรมการ จำนวน 85 ชุด ประกอบไปด้วย

          1.1 ชุดทองคำ จำนวน 4 ชุด ๆ ละ องค์ คือ

                   – เนื้อทองคำ                                        1   องค์

                   – เนื้อชนวนพิเศษหุ้มก้นทองคำ             1   องค์

                   – เนื้อนวะนำฤกษ์แก่ทองหุ้มก้นทองคำ   1   องค์

                   – เนื้อนวะหุ้มก้นเงิน                               1  องค์

                   – เนื้อทองแดงลองพิมพ์หุ้มก้นเงิน          1  องค์

            1.2 ชุดเนื้อชนวนพิเศษ จำนวน 43 ชุด ๆ ละ องค์ คือ

                   – เนื้อชนวนพิเศษหุ้มก้นทองคำ              1   องค์

                   – เนื้อนวะหุ้มก้นเงิน                                1  องค์

             1.3 ชุดเนื้อนวะนำฤกษ์แก่ทองคำ จำนวน 27 ชุด ๆ ละ องค์ คือ

                   – เนื้อนวะนำฤกษ์แก่ทองคำหุ้มก้นทองคำ 1  องค์

                   – เนื้อนวะหุ้มก้นเงิน                                1  องค์

              1.4 ชุดเนื้อทองแดงลองพิมพ์ จำนวน 11 ชุด ๆ ละ 2 องค์ คือ

                    – เนื้อทองแดงลองพิมพ์หุ้มก้นเงิน           1  องค์

                    – เนื้อนวะหุ้มก้นเงิน                                1  องค์

2. ประเภทองค์เดี่ยว ประกอบไปด้วย

              2.1 เนื้อเงินลองพิมพ์หุ้มก้นทองคำ จำนวน   2   องค์

              2.2 เนื้อชนวนพิเศษหุ้มก้นทองคำ จำนวน    28  องค์

                    ใต้ฐานจารพระนามพระพุทธเจ้า            28 พระองค์

              2.3 เนื้อชนวนพิเศษหุ้มก้นเงิน จำนวน        149 องค์

              2.4 เนื้อนวะหุ้มก้นทองแดง จำนวน             999 องค์

ที่ใต้ฐานจะตอกโค้ดที่วัดสั่งทำขึ้นมาใหม่ และตอกลำดับหมายเลขใหม่ สำหรับเนื้อนวะหมายเลขเดิมจะถูกปิดไปโดยปริยาย ส่วนเนื้อชนวนพิเศษ และเนื้อนวะนำฤกษ์แก่ทองจะไม่ใช้หมายเลขที่สะโพกพระกริ่ง แต่จะใช้หมายเลขที่ใต้ฐานเป็นตัวกำหนดจำนวนพระของวัด

หมายเหตุ เนื้อชนวนพิเศษหุ้มก้นเงิน เดิมแจ้งจำนวนไว้ 99 องค์ ทางผู้สร้างได้ถวายวัดเพิ่มอีกจำนวน 50 องค์ จำนวนจึงเพิ่มขึ้นเป็น 149 องค์ ( 27 กันยายน 2557 )

ชุดกรรมการ

– เนื้อทองคำ

เนื้อนวะแก่ทองคำนำฤกษ์ก้นหุ้มทองคำ

-เนื้อชนวนพิเศษก้นหุ้มทองคำ

– เนื้อนวะหุ้มก้นเงิน

เนื้อทองแดงลองพิมพ์หุ้มก้นเงิน

ประเภทองค์เดี่ยว

เนื้อเงินลองพิมพ์หุ้มก้นทองคำ

– เนื้อชนวนพิเศษก้นหุ้มทองคำ    ขอติดค้างรูปไว้

เนื้อชนวนพิเศษก้นหุ้มเงิน

เนื้อนวะก้นหุ้มทองแดง

ผู้เขียนขอเรียนว่าเรื่องเกี่ยวกับหลวงปู่ ยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอยู่อีกหลายเรื่องที่ผู้เขียนอยากนำเสนอ เช่นเรื่องประสบการณ์วัตถุมงคลของท่าน และอภินิหารที่เกิดจากตัวท่านเอง แต่ผู้เขียนต้องขอเวลารวบรวมและตรวจทานหลักฐานก่อนที่จะนำมาเผยแพร่ต่อไป ประกอบกับขณะนี้ทางวัดได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมารุ่นหนึ่ง ผู้เขียนจึงขอนำรายละเอียดมาเสนอไปพลางก่อน

เหรียญพระพุทธเมตตา

อธิษฐานจิตโดยหลวงปู่สิงห์ วัดโบสถ์

การสร้างเหรียญพระพุทธเมตตา เริ่มต้นจากการที่หลวงปู่ได้เห็นเหรียญพระพุทธเมตตา ซึ่งหลวงพี่สุรฤทธิ์ ธมมทินโน ผู้รับใช้ดูแลหลวงปู่ได้บูชามาจากวัดไทยที่พุทธคยา เมื่อได้เห็นแล้วหลวงปู่ท่านชอบมาก และบอกกับหลวงพี่สุรฤทธิ์และบรรดาลูกศิษย์ว่า ควรจะสร้างวัตถุมงคลเป็นรูปพระพุทธก่อน เพราะเราเป็นศิษย์ตถาคต ทางหลวงพี่สุรฤทธิ์ จึงให้ช่างแกะแม่พิมพ์ตั้งแต่ต้นปี 2556 โดยใช้พิมพ์เดียวกับเหรียญที่บูชามา แต่ขณะนั้นยังไม่มีโอกาสจัดสร้าง จนกระทั่งเข้าพรรษาปี 2557 จึงดำเนินการต่อ และจะออกให้บูชาหลังออกพรรษา

ทางผู้เขียนจึงช่วยบอกข่าวนี้ออกไป ปรากฎว่ามีหลายคนแสดงความเห็นในทำนองว่า ไม่มีเกจิอาจารย์องค์ไหนสร้างเหรียญพระพุทธแล้วเหรียญรุ่นนั้นจะดัง ทำไมจึงคิดสร้างเหรียญพระพุทธ ทางหลวงพี่สุรฤทธิ์ก็บอกกับผู้เขียนว่าทางท่านก็ได้ยินมาแบบนี้เหมือนกัน เรื่องนี้ผู้เขียนเข้าใจและต้องขอเรียนว่า หลวงปู่และทางวัดไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะสร้างเหรียญนี้ให้ดัง แต่ต้องการให้ลูกศิษย์มีของดีและมีคุณค่าสูงไว้บูชา

ดีอย่างไร ผู้เขียนขอเริ่มที่องค์พระพุทธเมตตา ท่านเป็นพระพุทธรูปหินแกะสลักสมัยปาละ อายุประมาณ 1,400 ปี ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในมหาโพธิ์เจดีย์ที่พุทธคยา มีเหตุการณ์ที่ถูกบันทึกไว้โดยหลวงจีนเฮี่ยนจัง(พระถังซำจั๋ง) ซึ่งเดินทางไปศึกษาพระไตรปิฏกที่มหาวิทยาลัยนาลันทาว่า พระเจ้าศศางกา กษัตริย์ฮินดูจากเบงกอล ที่แผ่อำนาจเข้ามายึดครองดินแดนแถบนี้ ต้องการกวาดล้างศาสนาอื่นออกไปด้วย จึงดำเนินการทำลายสัญญลักษณ์ของศาสนาพุทธ ด้วยการเข้ามาโค่นต้นพระศรีมหาโพธิ์ และจะทำลายพระพุทธรูปองค์นี้ แต่เมื่อได้เห็นพระพักตร์ของท่านที่แสดงออกถึงความเมตตาจนสามารถสะกดให้กษัตริย์พระองค์นี้ไม่อาจตัดใจทำลายท่านลงได้

จากเหตุการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ในพลังแห่งความเมตตาของท่าน จนทั่วโลกต่างพากันยอมรับ และยกย่องว่าท่านเป็นพระพุทธรูป ใน องค์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงที่สุดในโลก และนี่จึงเป็นที่มาของพระนามท่านว่า พระพุทธเมตตา พุทธศานิกชนทั่วโลกต่างปรารถนาที่จะได้มีโอกาสไปกราบท่านสักครั้งหนึ่งในชีวิต

เมื่อเราพิจารณาถึงองค์ท่านที่เป็นเพียงหินแกะสลัก แต่พระพักตร์ของท่านสามารถเปลี่ยนใจกษัตริย์พระองค์นั้นได้ นั่นแสดงว่าศิลปินผู้รังสรรค์ท่านขึ้นมาต้องเป็นสุดยอดฝีมือ เหนืออื่นใดผู้เขียนคิดว่า ภายในองค์ท่านต้องสถิตย์ไว้ด้วยบุญบารมีและพลังอำนาจแห่งความเมตตาอย่างสูงยิ่ง จึงบันดาลให้มนุษย์ใจอ่อนลงได้ เช่นนี้แล้ว การจำลององค์ท่านลงในเหรียญเพื่อเป็นวัตถุมงคลให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้บูชา ย่อมเป็นมงคลสูงสุด โดยเฉพาะองค์ผู้อัญเชิญพระบารมีขององค์พระพุทธเมตตาให้ลงมาประทับในเหรียญนี้ คือหลวงปู่สิงห์ วัดโบสถ์ พระสงฆ์แท้แห่งอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ผู้มีพลังจิตและญาณสมาธิขั้นสูงย่อมสื่อถึงท่านได้เป็นอย่างดี

ผู้เขียนอยากเรียนว่า การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยทุกวันนี้ ถ้าเราอยากได้อะไรในเรื่องความรู้สึกที่เป็นนามธรรม เราต้องเอาสิ่งนั้นไปแลก

อยากให้เขายิ้มให้เรา เราต้องยิ้มให้เขาก่อน

อยากให้เขาให้เกียรติเรา เราต้องให้เกียรติเขาก่อน

อยากให้เขารักเรา เราต้องรักเขาก่อน

ดังนั้น เมื่อเราให้ความเมตตาคนอื่น เราก็จะได้รับความเมตตารักใคร่กลับคืนมา แต่การแสดงความเมตตาเพื่อให้คนอื่นรับรู้ได้นั้นต้องขึ้นกับโอกาส สถานการณ์ และอาจจะต้องใช้เวลา ซึ่งคงไม่ง่ายนัก แต่ถ้าเรามีเหรียญพระพุทธเมตตาก็เปรียบเหมือนเรามีสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่ทรงพลังเป็นตัวช่วย เพราะเหรียญนี้มีความเป็นเมตตามหานิยมสูงสุด เนื่องจากด้านหน้ามีองค์พระพุทธเมตตาจำลองประทับอยู่ และด้านหลังของเหรียญมีคำว่า ” อภัย ” ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่าการให้อภัยคือความเมตตาขั้นสูงสุด ผู้ที่มีเหรียญนี้บูชาและพกติดตัวย่อมมีพลังขององค์ท่านส่งให้ผู้อื่นรับรู้ได้ในทันที่

ยิ่งสังคมของเราในขณะนี้อยู่ในอาการป่วย เต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น การเอารัดเอาเปรียบกัน การเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความเกลียดชัง และทะเลาะวิวาทกันเอง สับสนวุ่นวายไปหมด

ถ้าพวกเราใช้สติพิจารณา นำเอาคำสอนของพระพุทธองค์และองค์พระพุทธเมตตามาเป็นหลักนำใจ ย่อมทำให้เกิดความเมตตาระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อันนำมาซึ่งความรัก ความสมัครสมานสามัคคี และความปรองดอง สังคมของพวกเราก็จะเกิดความสุขอย่างแท้จริง

วัตถุมงคลเหรียญพระพุทธเมตตาที่ทางวัดโบสถ์จัดสร้าง จำนวน 1,299 เหรียญ แบ่งเป็น

เนื้อทองคำ 9 เหรียญ

เนื้อเงิน 21 “

เนื้อนวโลหะ 32 “

เนื้อชนวนพิเศษ 32 “

เนื้อตะกั่ว 5 “

เนื้อทองแดง 1,200 “

วันที่ ต.ค. 57 ขอเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อทองแดงครับ ตอนสั่งทำครั้งแรกจำนวน 1,000 เหรียญโดยไม่รมดำ แต่ทางโรงงานกลับไปรมดำ หลวงพี่จึงสั่งปั๊มใหม่และเพิ่มจำนวนเป็น 1,200 เหรียญ ส่วนที่รมดำท่านจึงไม่ออกให้บูชาแต่จะเก็บไว้บรรจุในเจดีย์ )

ผู้เขียนขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเห็นของการสร้างเหรียญพระพุทธอีกประการหนึ่งว่า พระพุทธ คือต้นกำเนิดของศาสนาพุทธ การกราบไหว้ท่านก็คือการกราบไหว้องค์ผู้มีบารมีสูงสุด แล้วทำไมเราต้องมาเกี่ยงงอนว่าสร้างแล้วจะไม่ดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคที่แสดงถึงความเมตตา

การทำให้คนมาเมตตาเรานั้นคือสิ่งประเสริฐ ถ้ามีคนมาเมตตาเราจะไปติดต่ออะไรก็ได้รับความสะดวก ผู้หลักผู้ใหญ่ก็ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ จะไปค้าขายอะไรก็มีแต่คนมาซื้อ และสุดท้าย คนที่จะมาทำร้ายเราก็ต้องใจอ่อน

ความเมตตาเป็นสิ่งสำคัญในการอยู่ร่วมกัน พระพุทธองค์จึงได้ตรัสไว้ว่า

เมตตาธรรมค้ำจุนโลก

ผู้เขียนขอเรียนว่า ความเมตตานำมาซึ่งความรัก ในที่นี้หมายถึงความรักระหว่างเพื่อนมนุษย์ ความรักเป็นสิ่งสวยงามก่อให้เกิดความเอื้ออาทร ทำให้ใจเป็นสุข ส่วนความเกลียดชังกันทำให้เกิดความเร่าร้อน และใจเป็นทุกข์ ผู้เขียนขอเปรียบเทียบดังนี้

คนเราถ้าเกลียดกัน ถึงแม้ว่าจะอยู่บ้านเดียวกันก็เหมือนอยู่กันคนละโลก

คนเราถ้ารักกัน ถึงแม้ว่าจะอยู่กันคนละมุมโลกก็เหมือนอยู่ในบ้านเดียวกัน

ท่านพระครูปิยะธรรมากร (อาจารย์วอย) เจ้าอาวาสวัดโบสถ์และเป็นลูกศิษย์ที่หลวงปู่สิงห์เมตตาท่านมาก จึงถ่ายทอดวิชาการทุกอย่างให้ท่านโดยไม่ปิดบัง ทั้งด้านกรรมฐานและวิชาอาคม เป็นที่กล่าวขานกันในท้องถิ่นว่าไม่เคยเห็นท่านอาจารย์วอยโกรธใคร ท่านบอกกับผู้เขียนว่า

โกรธเขาก็เผาตัวเราเอง

การดำเนินการสร้างเหรียญ

หลวงพี่ได้เดินทางไปขอความเมตตาจากเกจิอาจารย์ที่มีบารมีในด้านเมตตามหานิยม ช่วยลงยันต์เพื่อนำมาเป็นชนวนในการผสมเนื้อทุกประเภท ทั้งนี้ท่านได้ควบคุมการหลอมโลหะโดยตลอด สำหรับเนื้อชนวนพิเศษนั้นคือ เนื้อชนวนพิเศษของพระกริ่งรุ่นลาภมาหาผสมยันต์ของเกจิอาจารย์ดังกล่าว นอกจากนี้ได้ใส่วัตถุมงคลที่เป็นรุ่นเกี่ยวกับเมตตาของเกจิอาจารย์จำนวนมากลงไปผสม ทำให้มีแต่เนื้อชนวนและวัตถุมงคลล้วน ๆ โดยไม่มีเนื้อของโรงงาน ทุกขั้นตอนมีความพิถีพิถันมาก

ขนาดเหรียญ

กว้าง 2.6 ซม.

สูง 3.6 ซม.

ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธเมตตา ที่พุทธคยา ใต้ฐานมีคำว่า 2556 คือ พ.ศ.ที่ทำการแกะแบบพิมพ์ ด้านล่างสุดมีคำว่า พระพุทธเมตตา 

ด้านหลัง เป็นรูปพระมหาโพธิ์เจดีย์ มีกิ่งใบโพธิ์อยู่ใต้ฐาน ตรงกลางพุ่มใบโพธิ์มีคำว่า อภัยอยู่ภายในรูปใบโพธิ์ (หรือจะมองเป็นรูปหัวใจก็ได้) ด้านล่างติดขอบเหรียญเขียนว่า วัดโบสถ์ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ 

เหรียญเนื้อเงิน

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 เป็นวันเกิดของหลวงพี่สุรฤทธิ์ ท่านเข้าไปกราบขอพรจากหลวงปู่ จึงนำเหรียญเข้าไปกราบขอให้หลวงปู่อธิษฐานจิตให้ โดยหลวงพี่เรียนกับหลวงปู่ว่าโยมสุวัฒน์ขอให้ผมเรียนกับหลวงปู่ว่า ขอให้หลวงปู่ส่งจิตไปอัญเชิญหลวงพ่อพระพุทธเมตตาที่อินเดียมาสถิตย์ในเหรียญนี้ด้วย หลวงปู่ท่านพยักหน้าและกำหนดจิตพร้อมกับท่องคาถาอยู่เป็นเวลานาน จากนั้นท่านก็หันมาบอกหลวงพี่ว่า เสร็จแล้ว ท่านมาแล้ว

เมื่อได้รายละเอียดและรูปเกี่ยวกับชนวนจะนำมาเสนอต่อไปครับ

Posted – 06/08/2015 : 17:49:08
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ผู้เขียนขอเสนอข่าวเรื่อการสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่สิงห์อีกหนึ่งรุ่น คือ รุ่นเจริญพระ 88 ซึ่งจัดสร้างโดยคณะลูกศิษย์ในท้องถิ่น ผู้เขียนพิจารณาเห็นว่ามีวัตถุประสงค์ที่ดีและชัดเจน นั่นคือรายได้หลังหักต้นทุนจะถวายวัดทั้งหมดเพื่อนำไปสมทบการก่อสร้างพระเจดีย์ที่วัดโบสถ์ ซึ่งการจัดสร้างพระเจดีย์นี้เป็นปณิธานของหลวงปู่สิงห์เอง  สำหรับหลักการสร้างก็เปิดเผยแสดงความบริสุทธิ์ใจด้วยการตอกโค้ดและตอกหมายเลข ผู้ดำเนินการในครั้งนี้คือ คุณศักดินันท์ สุภัควรางกูร และคุณคุณากร ปรีชาชนะชัย โดยมีรูปแบบดังนี้

สำหรับท่านผู้สนใจต้องการบูชาวัตถุมงคลที่มีความศักดิ์สิทธิ์และมีเจตนาสร้างที่ดีแล้ว วัตถุมงคลรุ่นนี้ก็จะไม่ทำให้ทุกท่านผิดหวัง นอกจากท่านจะได้ของศักดิ์สิทธิ์แล้วท่านยังได้บุญอย่างเต็มที่

ติดต่อขอบูชาและขอรายละเอียดได้ที่

1. อู๋ CAT สุรินทร์ 081 238 0111

2. ร้านโชคชัย (ศีขร) 081 976 2164

3. ร้านเคโมบาย (เฮียเป๊ปซี่) 081 97604900

4. กอล์ฟ ศีขร 082 375 8710

5. พระครูปิยธรรมกร (เจ้าอาวาส วัดโบสถ์) 089 721 9497

6. ร้านพระเครื่องอาจาโร ขอนแก่น 089 275 5678

7. วันชัยพระเครื่อง สกลนคร 081 965 0452

8. บ้านพระสราวุฒิ พันทิพย์งามวงศ์วาน 086 305 6905

9. หลานปู่อ่วมพระเครื่อง ร้อยเอ็ด 084 656 4446

10. คลองขวางพระเครื่อง กรุงเทพฯ 084 766 4723

11. ธรรมขันธ์พระเครื่อง กรุงเทพฯ 086 999 5567

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *